ประเพณีการฟ้อนผีมดของเมืองลี้ที่ยังหลงเหลืออยู่ ประเพณีฟ้อนผีมดทางภาคเหนือ ผู้ที่อยู่ในเชื้อสายเดียวกันจะไปร่วมชุมนุมที่บ้านของผู้ที่รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดงาน ชาวบ้านจะนำสิ่งของมา "ฮอม" หรือมาร่วมกันทำบุญเจ้าภาพจึงไม่ต้องจ่ายมาก เป็นโอกาสที่ญาติพี่น้องที่แยกย้ายไปทำงานที่อื่นได้กลับมาพบปะกันปีละครั้ง เพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษ และเกิดความภูมิใจในชาติพันธุ์วงศ์ตระกูลเดียวกัน
      การฟ้อนจะฟ้อนในโรงพิธีหรือที่เรียกว่า "ผาม" โดยการจัดเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ประกอบด้วย หัวหมู ไก่ต้มสุกทั้งตัว เหล้า ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน ขนม กล้วย อ้อย และมะพร้าว วางบนร้าน ถัดไปมีผ้าโสร่งและเครื่องแต่งตัวสำหรับผู้ที่จะมาฟ้อน จะพาดเอาไว้ที่ราวข้างๆ "ผาม" สอบถามผู็เกี่ยวข้องบอกว่า สำหรับเสื้อผ้าเครื่องแต่งตั้วนั้น ผู้ที่เป็นเชื้อสายจะนำเอามาเอง
      เท่าที่ทราบ จะมีการฟ้อนอยู่ประมาณ 2 วัน และอาจจะนานถึง 2 - 3 ปี ถึงจะมีประเพณีครั้งหนึ่ง เมื่อกำหนดวันเวลาที่จะฟ้อนแล้ว เมื่อถึงวันเวลา ก็จะพากันไปที่บ้าน "เก็าผี" ซึ่งเป็นร่างทรงที่มีอายุอาวุโส
      ก่อนที่จะทำพิธีจะต้องมีการเตรียมสถานที่โดยการสร้างประจำ (ทางเหนือเรียกว่า ผาม) ภายในลานบ้าน ในปะรำมีเครื่องเซ่นสังเวยต่าง ๆ เช่น หัวหมู ไก่ต้มสุกทั้งตัว เหล้า ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน ขนม ข้าวต้มมะพร้าว กล้วยอ้อย ใส่ภาชนะไว้บนร้าน ซึ่งคล้ายกับศาลเพียงตาสูงจากพื้นดินประมาณหนึ่งเมตร และมีราวผ้าโดยมีผ้าโสร่งใหม่พาดไว้หลายตัวสำหรับผู้ที่จะมาฟ้อนและมีผ้าพาดบ่าเวลาฟ้อนด้วย พร้อมกับมีผ้าโพกหัวสีต่าง ๆ ซึ่งใช้กันทั้งชายและหญิง ตรงกลางปะรำจะมีผ้าขาวห้อยเอาไว้ปล่อยให้ยาวลาดพื้นปะรำ ในวันแรกที่จะทำพิธีฟ้อนจะมีหญิงชราที่เป็นหัวหน้าตระกูลนั้นนำลูกหลานเข้าไปทำพิธีสักการะบูชาผีบรรพบุรุษ มีการอธิฐานขอให้คุ้มครองลูกหลานญาติพี่น้องทุกคนให้มีความสุขสบายทำมาหากินสะดวก

     หลังจากทำพิธีสักการะบูชาบอกกล่าวแก่ผีบรรพบุรุษแล้ว ก็กล่าวอัญเชิญผีหรือเจ้าพ่อไปยังปะรำพิธี ในการทำพิธี อัญเชิญนี้ก็จะมีที่นั่ง (คนทรง) ไปทำพิธีด้วยเพื่ออัญเชิญเจ้าพ่อไปยังปะรำพิธีจากนั้นก็จะมีการอัญเชิญเจ้าพ่อเข้าทรง คนทรงจะมีอาการผิดแปลกไปจากเดิม ท่าทางไม่เหมือนลักษณะคนเดิมเลย และเจ้าพ่อก็จะเอาขวดเหล้าซึ่งเป็นเหล้าสังเวยนั้นยกดื่มจนหน้าแดงกล่ำ แต่ไม่ปรากฏอาการมึนเมา พอได้ที่แล้วก็จะถามกันระหว่างคนทรงกับบรรดาญาติพี่น้องทั้งหลายซึ่งคนทรงมักจะเรียกลูกหลานว่า “ไอ้เหลนน้อย” เมื่อถามไถ่กันเสร็จเรียบร้อยแล้วก็อัญเชิญเจ้าพ่อออกจากคนทรง หลังจากนั้นก็จะมีการฟ้อนผีมด-ผีเม็ง ซึ่งพวกผู้หญิงหรือพวกญาติพี่น้องที่มีอายุจะเป็นคนฟ้อนนำขึ้นก่อน ผู้รำส่วนมากจะเป็นผู้หญิง ผู้ชายไม่ค่อยรำกัน ถ้ารำมักจะรำดาบรำง้าว

     ก่อนที่จะฟ้อนผู้ฟ้อนจะไปหยิบเครื่องแต่งตัวจากราว สวมทับเข้ากับเสื้อผ้าตัวเองโดยไม่ต้องเปลี่ยนแล้วก็เข้าไปเอามือเกาะผ้าขาวที่ห้อยอยู่กลางปะรำพร้อมกับฟุบหน้าลงโยนตัวไป ๆ มา ๆ สักครู่ออกมาฟ้อนตามจังหวะกลองที่จ้างมาบรรเลง กลองดังกล่าวเรียกว่า กลองเต่งทิ้ง มีอุปกรณ์ คือ กลองสองหน้า กลองขัดจังหวะ ระนาด ฆ้องวง ปี่(แน) ฉาบ ฉิ่ง ฆ้องเล็ก ชนิดละอย่าง (กลองชนิดนี้ทางเหนือใช้ตีปลุกใจพวกนักมวยเวลาชกกัน) คนรำก็จะเปลี่ยนกันเข้าออก แต่ละคนจะต้องเป็นคนในตระกูลเท่านั้น ตระกูลอื่นเข้าไปรำไม่ได้ ผิดผี และการรำก็ไม่มีศิลปะหรือมาตรฐานแน่นอนอะไร

      การฟ้อนผีมด ไม่ใช่การฟ้อนเพื่อเซ่นสังเวยพวกภูตผีปีศาจ แต่เป็นการฟ้อนเซ่นสังเวยผีบรรพบุรุษ ซึ่งอาจจะเป็นผีปู่ ย่า ตา ยาย หรือผีบิดา มารดา ที่ล่วงลับไปแล้ว เพราะเขาถือกันว่าเมื่อพวกญาติพี่น้องตายไปแล้วดวงวิญญาณจะมารวมกันอยู่ที่หอผี จึงได้สร้างหอขึ้นไว้ เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรม


เครื่องประกอบจังหวะดนตรี