ช่วงวันที่ 4 - 8 พฤศจิกายน 2558 ได้มีโอกาสไปเยือนสิบสองปันนา ประสบการณ์ที่ได้ไปเยือนสิบสองปันนาหรือเมืองเชียงรุ้ง เมืองที่ถูกกล่าวถึงเส้นทางอพยพของพระนางจามรี ที่ต้องลี้ภัยจากเมืองหลวงพระบาง มุ่งหน้าสู่ไชยปราการ รอนแรมไปในพื้นที่ที่มีความเกี่ยวพันกันของล้านนา มุ่งหน้าจับประเด็นเส้นทางที่ช้างพรายมงคลได้นำไพร่พลถึงดอยหล่อ ข้ามลำน้ำปิงสู่ฝั่งตะวันออกของหริภุญชัย ดั้นด้นผ่านป่าเขาลำเนาไพร ลัดเลาะขึ้นเขาลงห้วย หยุดพักไพร่พลหลายครั้งหลายครา เพื่อมุ่งหน้าหาที่ปลอดภัย ตั้งจิตอธิษฐานในการสร้างบ้านแปงเมือง ไปตามลำน้ำสายหนึ่งจวบจนลุล่วงถึงบริเวณที่เหมาะสม จึงได้สร้างบ้านแปงเมืองในชัยภูมิที่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง สถานที่แห่งนั้นคือ "เมืองลี้"

      ด้วยความอยากที่จะพิสูจน์อะไรสักอย่าง จึงได้ตัดสินใจไปเชียงรุ้งกับคณะ ถึงแม้จะเป็นเมืองที่กำลังพัฒนาก้าวหน้าไปมากจนแทบจะไม่หลงเหลือความเป็นเมืองในประวัติศาสตร์ แต่ก็ยังมีชนชาติพันธ์ุ "ไทลื้อ" และอีกหลายชาติพันธ์ุที่ยังคงอยู่ ไม่่ว่าจะเป็นอีก้อ อาข่า ถึงจะเป็นรุ่นที่สามแล้วก็ตาม ยังคงมีร่องรอยแห่งวัฒนธรรมที่พอหลงเหลือให้ศึกษาได้บ้าง

     พยายามเก็บภาพมาไว้ศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติมในภายหลังและสำหรับเล่าให้อีกหลายๆคนได้รับฟังกัน

มื้อกลางวันที่เวียงป่าเป้า

 

เดินทางด้วยรถตู้มุ่งหน้าสู่เชียงราย

เดินทางถึงด่านพรมแดนเชียงของ ทริปนี้พยายามผ่านแดนก่อนค่ำ

ผ่านกระบวนการเดินทางออกต่างประเทศ

สัมภาระข้าวของ กระเป๋าต้องนำผ่านด่านด้วยตนเอง

ก้าวผ่านด่านเชียงของ แล้วก็เดินทางต่อด้วยรถยนต์ของลาวที่มารอรับ

ยินดีต้อนรับสู่ สปป.ลาว

คืนนี้จะพักที่โรงแรมในเขตห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ติดริมน้ำโขง

เก็บภาพเป็นที่ระลึกเมื่อยามเย็นระเบียงร้านอาหารที่ห้วยทราย ริมน้ำโขง

มองข้ามไปฝั่งประเทศไทยที่เชียงของ

ทัวร์คณะนี้คงต้องได้ปล่อยแก่กันบ้าง อายุอานามรวมกันแล้วหลายร้อยปี

เช้าของวันที่สองของการเดินทางที่ห้วยทราย เตรียมตัวเดินทางต่อ

กระเป๋าใครกระเป๋ามัน  บางคนต้องตุนเครื่องดื่มไว้ก่อนตามใจชอบ

นางแสงดาว ไก๊ด์สาว สปป.ลาว มารอรับตั้งแต่เมื่อวาน จับมาถ่ายรูปเสียเลย

คณะทัวร์ส่วนมากมากันเป็นคู่ จะมีเพียงหัวหน้าทัวร์กับเราเท่านั้น ไม่มีคู่

อ้าว...นี่ก็อีกคู่...สาวพันปี

ระหว่างรอรถมารับ

ขึ้นรถแล้วครับ 07.30 น.ล้อหมุนเพื่อเดินทางไปสิบสองปันนา

ไก๊ด์สาว สปป.ลาวของเรา  ร่างเล็กสมส่วน สวย พูดเก่ง ลูกเล่นแพรวพราว

ถนนจากห้วยทราย ที่เขาเรียกกันว่า R3A 

ถนนที่คดเคี้ยงไปตามไหล่เขา ต้องข้ามเขาข้ามดอย 5 ลูก จึงจะถึงด่านบ่อเต็น

 

ห้องน้ำสะอาดห้าบาทเท่านั้น  หลังอดกลั้นมาจากบนดอย ที่บ้านน้ำฟ้า สปป.ลาว

 

ไหนๆก็ลงจากรถแล้ว ซื้อของที่กินได้  คณะทัวร์ไทย ลงเป็นซื้อ

ต้องเดินทางต่อข้ามภูเขาอีก 1 ลูก เพื่อทานอาหารกลางวัน

ผ่านบ้านเรือนของชนเผ่าต่างๆ

ถึงแล้วร้านอาหาร "ครัวไท" ซึ่งผู็ประกอบการเป็นคนไทยครับ ไปทำมาหากินที่นั่น

 

ร้านอาหารดูท่าทางสะอาด มีห้องน้ำบริการ บิการ WiFi ฟรี

รสชาดอร่ยอย่าบอกใครเชียว  บางคนหิวมากๆเลยลงมือก่อน

มื้อนี้เจริญอาหารเป็นพิเศษ 

จะต้องเดินทางอีก 216 กิโลเมตร จึงจะถึงสิบสองปันนา หลักกิโลทีไม่รู้ว่าเลียนแบบไทยหรือไทยไปเลียนเขามา

เดินทางต่อ ถึงทางแยก(ถ้าเอารถไปเองจะไปถูกหรือเปล่า) แยกขวาไปหลวงพระบาง แยกซ้ายไปสิบสองปันนา

ผ่านหมู่บ้านเล็กๆตามรายทาง

ถึงด่านบ่อเต็น สปป.ลาว

และจะเข้าสู่ด่านบ่อหาญ จีน

ต้องผ่านการตรวจสอบหนังสือเดินทางที่ค่อนข้างเข้มงวดซึ่งเป็นปกติของด่านชายแดนทั้งหลาย

บริเวณดิวตี้ฟรี จะมีสินค้าปลอดภาษีจำหน่าย

ด่านบ่อหาญซึ่งจะเดินทางเข้าแผ่นดินจีนตอนใต้ มณฑลยูนนาน

บริเวณด่านบ่อหาญ เขาห้ามถ่ายรูป เลยได้ภาพของไกด์สาวชาวไทลื้อ นามน้อง "มะปรางค์" 

 

เดินทางผ่านด่านเข้าสู่เมืองหล้า ถนนเริ่มมีสภาพดีขึ้น รถยนต์วิ่งเลนขวาเฟมือน สปป.ลาวครับ

 

สองข้างถนน มีการปลูกกล้วยหอมบนเขาทั้งลูกเลย

ถนนของจีน ถ้าผ่านภูเขา เขาจะเจาะอุโมงค์ให้พาหนะวิ่งผ่านไปได้ (นี่คือความใฝ่ฝันที่อยากให้ประเทศไทยทำถนนอย่างนี้บ้าง)

เมื่อเจอภูเขา เจาะอุโมงค์ ตลอดเส้นทางไปสิบสองปันนา มีทั้งหมด 27 อุโมงค์

 

ไกด์สาวชาวจีนฮั่นอีกคน น้อง "ตาหวาน" เสียงดังฟังชัด คู่หูของมะปรางค์

สองข้างทางถ้าไม่ปลูกกล้วยหอม ก็จะเป็นยางพารา จีนต้องไปเช่าพื้นที่ใน สปป.ลาวปลูกยางพาราด้วย

เจออุโมงค์อีกแล้วครับ

ถึงด่านทหาร แวะทำภารกิจหลังจากเดินทางมานานพอสมควร

ห้องน้ำของจีน เอกลักษณ์คือ กลิ่นครับ แต่จำต้องทน

นี่คือสะพานที่เชื่อมต่อจากอุโมงค์ของภูเขาถึงภูเขาอีกลูกหนึ่ง  สวยมั๊ยครับ

ความฝันที่เขาจะทำถนนผ่านดอยเถิน มาลี้ ถ้าลุงทนเจาะอุโมงค์ ทำสะพานเชื่อม จะย่นระยะทางได้ไม่น้อย

ถึงแล้วครับ สิบสองปันนา หรือเมืองเชียงรุ่ง หรือ เชียงรุ้ง  หลังทานอาหารเย็นแล้ว เข้าที่พักเลยหลังจากเหน็ดเหนื่อยกับการเดินทาง

ตอนเช้า มีแม่ค้ามาเร่ขายหมั่นโถริมถนน  

ไกด์สาว มะปรางค์และตาหวาน มารอให้บริการตั้งแต่เช้า ขึ้นรถเพื่อไปท่องเที่ยวรอบเมืองสิบสองปันนา

เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา หรือชื่อย่อว่า ซีไต่ ตั้งอยู่ทางใต้สุดของมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สิบสองปันนา มีความหมายว่า "นาสิบสองพัน" หรือ "นา 12,000 ผืน" อีกนัยหนึ่งก็คือ 12 เมือง มีเมืองเอก คือ เมืองเชียงรุ่ง

สถานที่แรกของเช้านี้คือ ป่าดึกดำบรรพ์ ลงจากรถก็เดินออกกำลังกายนิดหน่อย

ต้องชำระค่าผ่านประตูเข้าชม

 

แต่ละวันจะมีคณะทัวร์จากที่ต่างๆหลั่งไหลกันมา รวมทั้งไทยด้วย เฉพาะจีนแต่ละมณฑลมาเทียวกันก็มากพออยู่แล้ว

สีสรรค์ของสถานที่ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะพากันไปถ่ายรูปเป็นที่ระลึก

มีรถลดโลกร้อนไว้บริการอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปยังที่ต่างๆ

ทัวร์ทุกคณะจะมารวมตัวกันที่นี่....เขามารอดูอะไรกัน  ตามมาเลยครับ

กลางสระน้ำมีหนุ่มสาวชาวไทลื้อ ถ่อแพมาพบกัน

นักยูงเป็นสัญญลักษณ์ของสิบสองปันนา

นกยูงเหล่านี้ เมื่อได้ยินเสียงนกหวีด จะบินลงมาจากต้นไม้สูง บินข้ามสระน้ำมาอีกฝั่งหนึ่งที่มีคนให้อาหาร

ทฤษฏีการวางเงื่อนไข ยังใช้ได้เสมอ  นกยูงหลายร้อยตัวจะบินลงมาเมื่อได้ยินเสียงนกหวีด แล้วได้กินอาหาร

ผู้ชมก็ยืนกันรอบบริเวณ

ภาพนี้สำหรับยืนยันว่า ไม่ได้โม้....

เมื่อถึงเวลา คนเลี้ยงก็จะส่งสัญญาณให้บินกลับ ก็คงบินไปมาหลายรอบในแต่ละวัน

 จากนั้นนั่งรถลดโลกร้อนมาลงอีกฝั่งหนึ่งในสวนป่าดึกดำบรรพ์

ข้ามสะพานแขวนไปอีกฝั่งหนึ่ง ผ่านลำห้วยที่สูงมาก

เอ้า  ตามไปดู

ไปไหนไปกัน

สาวสวยชาวอาข่า รอต้อนรับบนฟากฝั่งของลำห้วย

 

แสดงให้เห็นวิถีชีวิตประจำวันของชนเผ่า

เขาเชิญชวนนักท่องเที่ยวร่วมการละเล่นกับเขา คล้ายๆรำกระทบไม้ของบ้านเรา

ก็ไม่มีอะไรมาก เต้นก็เต้น แต่ละคณะไม่รู้จักกันเลย แต่มาร่วมกิจกรรมด้วยกัน

จากนั้นเข้าไปบนเรือนของชนเผ่า ดูวิถีชีวิตของเขา 

ที่รินให้ชิมนี่  ชาหรือสาเก  แน่นอน  ชาครับ เพราะเขาจะดื่มชากันเป็นประจำอยู่แล้ว

เตาประกอบอาหารแบบโบราณล้านนาของเรา

สิ่งของเครื่องใช้ในการทำมาหากิน

คนหละปูน เมื่อเจอของถูกใจ ก็รีบเข้าไปชิมเลยทันที อาหารของชาวไทลื้อ

ด้านล่างก็มีของที่ระลึกจำหน่าย มากมาย


บ้องอะไรเนี่ย  ดูวิริศมาหรา  คุ้นๆน๊ะ

ร้านขายของที่ระลึก

กลัยมาเริ่มต้นใหม่รอบสิบสองปันนา

ไปเยี่ยมชมร้านยาสมุนไพรหลากหลายชนิด

ภายในบริเวณศูนย์สมุนไพรจีน เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ

 

เหล่าบรรดาสมุนไพรทั้งหลายทั้งปวง  จีนจะเน้นสมุนไพร

ใครมีความรู้เรื่องสมุนไพรก็จะได้ศึกษาเรียนรู้ด้วย รัฐบาลสร้างศูนย์ให้

 

และแล้วก็ต้อนเข้าเล้า เอ้ย ไม่ใช่ เชิญเข้ารับฟังการบรรยายว่าด้วยสมุนไพรจีน

บรรยายให้คณะทัวร์ฟังด้วยภาษาไทย

หมอจีนจะจับดูมือ เพื่อบ่งบอกว่าใครมีเลือดลมเป็นอย่างไร สมควรจะได้รับการฟื้นฟูเยียวยาอย่างไร

ผู้สูงอายุทั้งหลาย ได้รับฟังการวิเคราะห์โรคที่มี ที่เป็นอยู่โดยมีล่ามคอยแปลให้

 

แนะนำให้ใช้สมุนไพรเลือดมังกร และอีกหลากหลาย ตามความต้องการและปัจจัยถึงหรือไม่

ด้านหน้าศูนย์สมุนไพร

ป้ายบอกสถานที่ พยายามแล้วนา  แต่อ่านไม่ออกซักตัว 

อาหารมื้อกลางวัน เป็นอาหารแบบไทลื้อ รสชาดอร่อยถูกลิ้นคนหละปูน เหมือนบ้านเรา แต่ที่เพิ่มเติม จะมีเบียร์ให้ชุดละ 2 ขวด

มีข้าวเหนียวให้มาด้วย ถ้าหมดต้องการเพิ่ม จานละ 100 บาท หรือประมาณ 17 หยวน

โต๊ะอาหารทำด้วยหวาย ตรงกลางมีกระจกหมุนได้เหมือนโต๊ะจีน ชั้นที่ 2 สำหรับวางถ้วย ตะเกียบ และที่นั่งเป็นเก้าอี้หวาย

มีพ่อเลี้ยงบางคนจากลำพูน พยายามจะเลี้ยงดูปูเสื่อทั้งมะปรางค์และตาหวาน แต่พอชวนไปปิ้งย่าง กลับผิดนัดเสียนี่

 

หลังจากอิ่มอร่อยกับม้อกลางวันแล้ว เดินทางต่อ

สะพานที่เห็นข้างหน้า ไกด์สาวเรียกกันว่า สะพานพระรามแปด ข้ามแม่น้ำล้านช้าง หรือแม่น้ำโขงนั่นเอง

นานๆจะได้ถ่ายภาพหมู่ร่วมกันสักที บริเวณหน้าวัดหลวงเมืองลื้อ

บริเวณลานวัดชั้นใน จะมีรูปพระพุทธเจ้าน้อย

รอคิวขึ้นรถบริการเพื่อนำขึ้นไปสู่วัดเมืองลื้อ

 

สาวไทลื้อก็เข้าคิวเพื่อขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูปด้านบนเช่นเดียวกัน

ทางวัดเขาจัดรถประเภทลดโลกร้อนไว้บริการ แต่ละรอบคนเยอะมาก

วัดหลวงเมืองลื้อ สิบสองปันนา ประเทศจีน เป็นวัดที่บริษัทพัฒนาการท่องเที่ยวหยวนห้าว จำกัด สิบสองปันนา ยูนนาน ได้ทุ่มเงินลงทุนเองถึง 350 ล้านหยวน เพื่อสร้างวัดนิกายหินยาน หรือ เถรวาท และพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สุดในแถบนี้มาตั้งแต่ พ.ศ.2548 สืบเนื่องจากตระหนักดีว่า ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทมีประวัติอันยาวนานในสิบสองปันนา พอๆกับในแถวเอเชียอาคเนย์ เช่น ไทย ลาว กัมพูชา พม่า

ใครจะเดินขึ้นบันไดก็ได้ถ้าแข็งแรงพอ

เมื่อกลับลงมาแล้ว เหลียวไปดูอีกครั้งหนึ่ง ยิ่งใหญ่อลังการงานสร้างจริงๆ

มองไปด้านล่าง จะเห็นตึกรามบ้านช่องของสิบสองปันนารายล้อมบริเวณเต็มไปหมด

เข้าไปกราบพระในวิหารเพื่อความเป็นสิริมงคล

ภายในวิหารก็มีภาพวาดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าอยู่รายรอบ

มุมมองเมื่อลงจากบันได

พระพุทธเจ้าน้อย  ไม่ทราบที่มาที่ไป ถ้ายังเป็นเด็กน้อย น่าจะหมายถึง เจ้าชายสิทธัตถะ ยังไม่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

นกยูงที่พบเห็นได้ทั่วไป 

หลังจากออกจากวัดหลวงเมืองลื้อแล้ว โชเฟอร์ก็พาเราไปที่หมู่บ้านผลไม้ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่รัฐบาลจัดสรรให้ชาวนาเดิมได้อยู่อาศัย จัดหาอาชีพและส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว  เมื่อเดินทางมาถึงก็ใกล้ๆกับที่เราวันก่อนนั่นแหละ ตามทางเดินก็จะมีชาวบ้านนำสิ่งของ ของฝากของที่ระลึกมาจำหน่าย เช่น พัดจีน ผ้าพันคอ โมบาย พวงกุญแจรูปช้าง เป็นต้น ไกด์สาวจะนำเราไปยังบ้านแต่ละหลัง ใต้ถุนบ้านจะมีเก้าอี้พลาสติกเรียงรายกันอยู่ บางหลังก็มีนักท่องเที่ยวนั่งชมการสาธิต บ้านหลังที่พวกเราได้เข้ามาใต้ถุน จะมีสาวไทลื้อออกมาแนะนำชื่อภาษาไทย และชื่อไทลื้อ และบอกว่ายังเป็นอินางตัวดี หมายถึงเป็นนางสาวอยู่ แต่ถ้ามีผัวแล้ว จะเรียกอินางตัวแก่ หรือเรียกผู้ชายว่า อ้ายบ่าวตัวดี หรืออ้ายบ่าวตัวแก่ พิจารณาเอาเองว่าจะเป็นขนาดไหน หลังจากพูดแนะนำตัวเองแล้วก็สาธิตพร้อมบรรยายเป็นนักขายได้ดีทีเดียว มีลูกเล่นลูกฮาตลอด จะแนะนำมีดที่มีคุณสมบัติพิเศษ เพราะท้องถิ่นแถบนี้มีแร่เหล็กเป็นทรัพยการสำคัญพร้อมด้วยยางพาราและกล้วยหอม  มีการสาธิตว่ามีดแต่ละเล่มใช้ทำประโยชน์อะไรได้บ้าง พอเห็นการสาธิตแล้วก็เข้าใจว่าคุณสมบัติของมีดและที่ปอกผลไม้มีมากมาย แต่ไม่รู้วิธีใช้

 อีกสถานที่หนึ่ง ใกล้ๆกันกับหมู่ทำมีดไทลื้อ เป็นศูนย์ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเยื่อไม้ไผ่

บรรยายสรรพคุณวัสดุสิ่งของเครื่องใช้ที่ทำมาเยื่อไม้ไผ่

กางเกงสำหรับสุภาพบุรุษ

ผลิตภัณฑ์มากมายเหลือคณานับ เข้าไปเห็นว่ามีประโยชน์น่าใช้ ก็ซื้อ ไกด์แนะนำบอกว่า เสื้อซื้อมาแล้วห้ามถามราคา

ตอนเย็นย่ำค่ำสนธยา หลังทานอาหารมื้อเย็นแล้ว ก็มาถึงสถานที่จัดแสดงโชว์กายกรรม ซึ่งเปลี่ยนใหม่แล้วครับ ไม่ใช่พาราณสีครับ

บริเวณด้านหน้าฮอลล์ที่จัดแสดง 

นั่งรอเวลาที่จะเข้าไปชมการแสดง

นี่แหละครับ ชุดกายกรรมที่ใช้ผู้แสดงมากมาย ยิ่งใหญ่อลังการงานสร้าง ที่สร้างความประทับใจผู้ชม

แสง สี เสียง และเทคนิคหลากหลาย ตรึงผู้ชมแบบไม่กระพริบตาเลยทีเดียว

รับชมวิดิโอแบบจัดเต็ม

หลังจากชมการแสดงกายกรรมจบลง ก็กลับโรงแรมที่พักในสิบสองปันนา บางกลุ่มไปหาประสบการณ์ถนนคนเดิน และชิมปิ้งย่าง

ไปเยี่ยมชมตลาดเช้าของสิบสองปันนา

เจอแล้ว  ข้าวหลาม ข้าวธรรมดาๆไม่ใส่กะทิเหมือนบ้านเรา กระบอกละประมาณ 3 - 4 หยวน

 

ผลไม้นานาชนิดวางขายเรียงรายในตลาด เหมือนบ้านเราสมัยก่อน

พืชผักผลไม ดูแล้วจะมีขนาดใหญ่โตกว่าบ้านเรา อาจจะเป็นภูมิอากาศที่หนาวเย็น

บริเวณด้านหน้าตลาดสด จะเห็นชาวบ้านเอาไก่ตัวเป็นๆมาขายด้วย

เดินทางต่อข้ามสะพานแม่น้ำล้านช้างไปฝั่งทิศใต้

ยวดยานพาหนะในถนน

ไกด์พาเรามายังสถานที่แห่งหนึ่ง วนเวียนใกล้ๆกัน อาจจะเป็นไฟล์บังคับให้มาดูและซื้อหยกครับ

ตู้ที่มีสัตว์โบราณตามความเชื่อของจีน เรียกกันว่า หมี่เซียะ ที่ให้โชคลาภเงินทอง สังเกตมีธนบัตรเป็นเงินไทยมากมาย  ไม่ต้องบอกว่าสถานที่แห่งนี้  คนไทยมาละลายทรัพย์กันมากมาย

ผลิตภัณฑ์ที่ทำาจากหยก

กำไลหยก

หยกสีนี้  กำลังเป็นที่นิยมชมชอบของคนจีนและนักท่องเที่ยว

เขามีวิธีพิสูจน์ว่าหยกอันไหนจริงอันไหนปลอม

ภายในศูนย์จำหน่ายหยก  มีมากมายให้เลือก  ยอมรับว่าไม่มีทั้งความรู้และปัจจัยที่จะซื้อ  ดูอย่างเดียว

ดูไปดูมา  หลายคนอดไม่ได้ก็ซื้อบ้างนิดหน่อย

หมู่้านไทลื้อ   บริเวณทางเข้าหมู่บ้าน  ที่ยังคงหลงเหลือคนไทลื้ออยู่

แม่อุ๊ย  คนไทลื้อรุ่ม 2 ที่พูดภาษาไทลื้อ สื่อสารกันรู้เรื่อง เพราะสำเนียงคล้ายภาษายองของคนลำพูนนั่นเอง

 

ลักษณะบ้านที่อยู่อาศัยของไทลื้อ เริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

มีสถานที่สำหรับบูชาใต้ต้นโพธิ์

ลักษณะบ้านของชาวไทลื้อ  หลังคาจะมุงด้วยดินขอ ใต้ถุนโล่ง

หน้าจั่วบ้านของไทลื้อ มีปีค.ศ.ที่สร้าง (1987) และภาษาจีน

บางหลังฐานะดีหน่อย เสาจะก่ออิฐแทนไม้เพื่อความมั่นคงแข็งแรง

ซุ้มประตูหน้าบ้าน

จากนั้นเดินผ่านไป พบช่างกำลังทำเรื่องประดับ

ปิ้งย่าง  ที่นำมาบริการถึงตลาดสินค้าไทลื้อ

สถานที่จำหน่ายของที่ระลึกนาดเล็กๆของไทลื้อ

ร้านอาหารมื้อกลางวัน  เพดานถูกประดับด้วยพวงองุ่น

หลังอาหารแล้วก็เดินทางไปที่วัดป่าเจต์

วัดป่าเจ
วัดป่าเจ (วัดป่าเชต์มหาราชฐาน) วัดแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในเมืองเชียงรุ่งเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดเป็นเหมือนวิทยาลัยสงฆ์ในเมืองเชียงรุ่ง ด้วยในอดีตนั้น ชาวเชียงรุ่งนิยมส่งลูกชายเข้ามาบวชเรียนตั้งแต่เล็กๆ โดยบวชเณรเรียกว่าบวชลูกแก้ว และเมื่ออายุครบบวชก็จะต้องบวชเรียนศึกษาพระธรรมเสียก่อนจึงจะได้เป็นที่ยอม รับจากสังคม ซึ่งก็คงเหมือนกับความเชื่อของคนไทยในอดีต แต่ปัจจุบันสภาสังคมเปลี่ยนแปลงไป ลูกผู้ชายชาวเชียงรุ่งก็อาจให้ความสนใจกับการทำมาหากินจนเมืองการบวชเรียน เป็นเรื่องที่ไม่สำคัญนัก ภายในวัดมีเจดีย์ขาว องค์จำลอง และเจดีย์แปดเหลี่ยม เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทลื้ออย่างมาก นอกจากนั้นอุโบสถของวัดป่าเจศิลปะแบบไทลื้อก็ยังสวยงามมากอีกด้วย

วัดป่าเจเป็นศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมพุทธศาสนาของสิบสองปันนา เป็นดินแดนแห่งความศักดิ์สิทธิ์พุทธศาสนาของชนชาติไต วัดป่าเจยังเป็นวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังของพุทธศาสนา นอกจากลือชื่อลือนามภายในประเทศ ยังมีชื่อเสียงไปยังเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญของวัดป่าเจมีวิหารใหญ่สำหรับการไหว้พุทธ ห้องศีล ตึกกุฎิเจ้าอาวาสและสถาบันพุทธศาสนา  

 

ถ่ายภาพหมู่กันซักภาพหนึ่ง

กับหัวหน้าคณะทัวร์

หอพระธรรมวัดป่าเจ โปรดสังเกตมีต้นลานคู่ด้านซื้อมือ ทราบว่าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชได้ทรงปลูกไว้

รูปปูนปั้นด้านข้างวิหารวัดป่าเจ

บริเวณด้านหน้าพระวิหาร

ศาลาหกเหลี่ยม รูปทรงสวยงาม

ถ่ายภาพที่ระลึกกับลูกสาวไทลื้อ ตรงบันไดทางขึ้นพระวิหารชั้นสอง

พระพุทธรูปที่สานด้วยไม้ไผ่ทั้งองค์

 

เป็นศิลปะการจักสานที่ต้องใช้สมาธิและความอดทนสูงมาก

ตุงที่แขวนไว้บนเพดานพระวิหารชั้นล่าง

อีกมุมมองบนระเบียงพระวิหารชั้นสอง

ภาพครูบาพรหมจัก วัดพระพุทธบาทตากผ้า อำเภอป่าซาง ที่พระวิหารวัดป่าเจ

สิ่งก่อสร้างมากมายในวัดป่าเจ ซึ่งถือว่าเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุกในสิบสองปันนา

อีกมุมมองบนพระวิหารวัดป่าเจด้านหน้า มองไกลออกไปมีตึกรามบ้านช่องเต็มไปหมด

โบสถ์วัดป่าเจที่อยู่ถัดไป

ประตูวัดป่าเจด้านติดกับถนน

ระเบียงวัดป่าเจ ซึ่งสามารถเดินรอบระเบียงพระวิหารได้ทุกด้าน

หนังสือสวดมนต์

ตัวอักษรคล้ายกับของอักขรล้านนาอย่างยิ่ง

แผ่นจารึกที่ระลึกในโอกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จมาวัดป่าเจต์มหาราชฐานและทรงปลูกต้นลานไว้ เมื่อปี พ.ศ.2536

มุมพักผ่อนในวัดป่าเจ

จากนั้นก็ตกลงกันว่าจะมาเยี่ยมห้างสรรพสินค้าในสิบสองปันนา ถือว่าเป็นห้างที่ใหญ่ที่สุด

ความเจริญกำลังก้าวเข้ามา ชาวสิบสองปันนาก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง

 

ในบริเวณห้างสรรพสินค้า

หลังจากเดินห้างเพื่อหาประสบการณ์แล้วก็เดินทางกลับ ผ่านสะพานแขวน

แม่น้ำล้านช้างที่ชาวสิบสองปันนาเรียกขานกัน แม่น้ำสายเดียวกันที่ผ่านประเทศไทย ที่เรียกกันว่า แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน และบริเวณที่ราบสูงธิเบต ไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ ผ่านประเทศจีน ประเทศลาว ประเทศพม่า ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,940 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชางเจียง หรือ แม่น้ำล้านช้าง และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่า และประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำโขง ยังเป็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาวด้วย

สิบสองปันนากำลังเปลี่ยนแปลงพัฒนามากจริงๆ

มาสิบสองปันนาทั้งที ต้องมาชิมชาที่รสชาดที่ดีที่สุด

เมื่อก้าวเข้าไป จะพบโต๊ะไม้ที่มีขนาดใหญ่มากๆ แสดงว่าทรัพยากรป่าไม้แต่ก่อน ไม่มีใครไปทำลาย ต้นไม้ถึงใหญ่โตมโหฬาร

ชาอัดแท่งที่สูงใหญ่ในร้าน

มีเรื่องราวเกี่ยวกับชามากมายให้ศึกษา

ชาอัดแผ่นในรูปแบบต่างๆ

พนักงานจะสาธิตการชงชาที่ถูกต้อง  

 

อาซิ้มกำลังเจียะเต้ 

สาธิตแล้วก็เชิญชวนให้ซื้อไป สรรพคุณมากมาย คนจีนถึงนิยมดื่มชา

ถึงเวลาเดินทางกลับ  เย็นนี้จะไปสัมผัสปิ้งย่างก่อนเดินทางกลับลำพูน