ประเพณีไหว้สาป๋ารมีสามครูบา บูชาเจ้าแม่จามรี ตานขันเข้าแด่บรรพบุรุษ เป็นกิจกรรมที่ศรัทธาประชาชนชาวอำเภอลี้ โดยเฉพาะชาวตำบลลี้ ซึ่งมีพื้นเพดั้งเดิมอาศัยอยู่ใกล้กับสถานที่สำตัญทางประวัติศาสตร์ชุมชน อันได้แก่ วัดพระธาตุดวงเดียว  ซึ่งเป็นวัดแรกที่เจ้าแม่จามรีได้สร้างขึ้นมาหลังจากที่ได้รอนแรมอพยพหลบลี้หนีภัยจากหลวงพระบาง โดยมีช้างพลายสุวรรณมงคล และเหล่าบรรดาข้าราชบริพารที่ติดตามมาซึ่งถูกระบุไว้ในตำนาน ซึ่งตำนานมีหลายตำนานที่ได้กล่าวถึงการสร้างบ้านแปงเมือง ของเจ้าแม่จามรี ผู็สร้างเมืองลี้ เท่าที่ได้ค้นพบจะเป็นอักษรธรรมล้านนา จารไว้ว่า ตำนานจามรีและตำนานเจดีย์ห้ายอด ล้วนแล้วแต่มีความผูกพันกันอย่างแยกไม่ออก แม้แต่ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ก็ยังได้เอ่ยถึงไว้เช่นเดียวกัน
      ด้วยความเชื่อที่ว่า เมืองลี้หลังจากได้ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยเจ้าแม่จามรี บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก มีผู็ครองเมืองลี้ถึง  6 พระองค์ จากหลักฐานร่องรอยที่ปรากฎในปัจจุบัน มีคันน้ำคูดิน ที่เป็นแนวกำแพงเมือง ซากอิฐ หม้อดินเผา ที่แตกกระจัดกระจายโดยรอบบริวณทั้งในวัดและนอกวัด ทั้งวัดพระธาตุห้าดวง วัดพระธาตุแท่นคำ รวมทั้งโบราณสถานโปงก้าง และโบราณสถานทุ่งกาด ซึ่งยังปรากฎเศษก้อนอิฐและหม้อดินเผาาอีกมากมาย สันนิษฐานกันว่า บริเวณโบราณสถาน ทุ่งกาด เป็นสถานที่จำหน่ายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ล่าสุดใกล้บริเวณดังกล่าว สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้ค้นพบหอยเบี้ย กระจัดกระจายกันอยู่ใกล้บริเวณ ไม่ต่ำว่า 200 ตัวเข้าใจว่า หากมีการขุดค้นอย่างจริงจัง จะทำให้มีความชัดเจนของเมืองโบราณแห่งนี้
      ด้วยความเชื่อว่า หลังจากที่เมืองลี้ได้ถูกกองทัพเมืองใต้ ยกมาตีด้วยกลอุบายที่แยบยล ในสมัยเจ้านิ้วมืองาม ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของเมืองลี้ ถึงแก่พิราลัยในสนามรบ บ้านเมืองถูกเผาและผู็คนถูกกวาดต้อนไปจากเมืองลี้ (มีผู้รู้หลายท่านพยายามสันนิษฐานว่า ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ) หลังจากเมืองลี้แตก ก็กลายเป็นเมืองร้างหลายชั่วอายุคน ต่อมาภายหลัง ครูบาศรีวิชัย ครูบาอภิชัยขาวปี ได้มาทำการบูรณะและช่วงสมัยครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ได้มีพระสงฆ์มาจำพรรษาอยู่ ณ วัดพระธาตุดวงเดียวแห่งนี่จนถึงปัจจุบัน
      ในช่วงปีพ.ศ.2510 ทางศึกษาธิการอำเภอลี้ได้ขอใช้สถานที่วัดร้างแห่งนี้ สร้างเป็นค่ายลูกเสืออำเภอลี้ และใช้เป็นสถานที่อบรมและจัดกิจกรรมเกี่ยวกับลูกเสือมาไดด้ช่วงเวลาหนึ่ง  แต่เนื่องจากยังคงสภาพเป็นป่ารก มีต้นไม้ใหญ่ บรรยากาศมึดครึ้มไปหมด จนผู็คนไม่กล้าที่จะเข้ามาในบริเวณวัดแห่งนี้ ต่อมาในรุ่นคนปัจจุบัน ได้มีแนวคิดว่าจะทำการทำบุญถวายทานขันเข้าให้แก่บรรพบุรุษที่ได้เอาชีวิตแลกเพื่อป้องกันบ้านเมืองไว้ให้กับลูกหลาน  จึงได้พยายามจัดกิจกรรมจนเปิดเป็นประเพณี ล่าสุดได้กำหนดให้เป็นงานประเพณ๊ไหว้สาสามครูบา บูชาเจ้าแม่จามรี ตานขันเข้าแด่บรรพบุรุษ ในเดือน 9 เหนือ แรม 9 ค่ำ เป็นกำหนดวันนัดหมาย ซึ่งสืบต่อจากการบวงสรวงพลีกรรมศาลเจ้าพ่อหลักเมืองลี้ ซึ่งได้ถูกกำหนดเป็นประเพณีเข่นเดียวกัน โดยกำหนดให้ตรงกับเดือน 9 เหนือ ขึ้น 9 ค่ำ