สถานการณ์บ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลงไปเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมากมาย จนถึงกับทำให้ภาษาล้านนาสูญสลายไป หากทิ้งไว้เนิ่นนานไปก็ยิ่งจะทำให้ถูกลืมไปในที่สุด ทั้งๆที่ภาษาล้านนา ตัวอักษรล้านนา ตั๋วอักขระโบราณหรือตั๋วเมือง เป็นทั้งภาษาอ่านและภาษาเขียนของคนล้านนา ที่มีความสละสลวยในตัวเอง  ผู้คนล้านนาในปัจจุบันที่สามารถอ่านหรือเขียนอักษรล้านนาได้ก็ล้มหายตายจากไปมิใช่น้อย  หากมิได้มีการอนุรักษ์และสืบสานอย่างต่อเนื่องก็จะล่มสลายไปในที่สุด

การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อักษรเขียน ซึ่งเรียกว่า ตัวเมือง หรือ อักษรล้านนา ที่ใช้บันทึกหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาลงในศิลาจารึก หรือ ในใบลาน ที่เรียกว่าปั๊บธรรมใบลานล้านนา ซึ่งปัจจุบันการศึกษาจากใบลานไม่เป็นที่นิยมแล้ว และกำลังเลือนหายไป ทำให้ผู้ต้องการศึกษาอักษรล้านนาเพื่อหาหลักฐานมาค้นคว้าได้ยากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาสืบค้นเรื่องราวต่างๆที่ปรากฏในใบลาน ปั๊บสา หากมีบุคคลที่สนใจในการอนุรักษ์และสืบสานฟื้นฟูอักษรล้านนา ก็จะเป็นเครื่องมือในการศึกษาเรียนรู้และเข้าใจและทราบถึงเรื่องราวต่างๆที่ถูกค้นพบ อันจะเป็นหลักฐานอ้างอิงถึงความเป็นมาได้อย่างมีคุณค่า

           สภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ได้ตระหนักในคุณค่าของภูมิปัญญาด้านภาษาล้านนา   สมควรที่จะมีการฟื้นฟูในการอ่านและการเขียนอักษรล้านนาให้คงอยู่และถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่อย่างมีคุณค่า  จึงดำเนินการจัดทำ “โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูและสืบสานอักษรล้านนา(ตั๋วเมือง)” ขึ้นเพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อักษรเขียน ซึ่งเรียกว่า ตัวเมือง หรือ อักษรล้านนา ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้เด็กเยาวชนและประชาชน สามารถอ่านอักษรล้านนาในใบลานได้อย่างถูกต้อง ฝ่ายราชการและฝ่ายฆราวาส ได้ต่อยอดขยายผลไปยังระดับตำบล ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และหมู่บ้านต่าง ๆ ให้ส่งเสริมการเรียนรู้อักษรล้านนากว้างขวาง ให้มีการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาล้านนา ในระดับที่จะทำให้ผู้ศึกษา ได้เข้าใจถึงแก่นแท้ทางศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ภายใต้เอกลักษณ์ล้านนาโบราณ อันเป็นที่ยอมรับในระดับสากลอีกด้วย

 

        ทำการสอนอักขรล้านนา (ตั๋วเมือง) ให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลวังดิน จำนวน 30 คน นักเรียนหญิง 24 คน นักเรียนชาย 6 คน โดยนายจรินทร์  ศรีสุวรรณ ผู้

อำนวยการโรงเรียนอนุบาลวังดิน ได้จัดสรรเวลาให้ทำการสอนแก่นักเรียน ตามนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 

ใ               กำหนดการเรียนการสอนในวันอังคารและวันศุกร์ ช่วงเวลา 14.00 - 15.00 น.สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง