อำเภอลี้เป็นเมืองโบราณเก่าแก่ที่มีมาแต่ดั้งเดิม ปรากฏร่องรอยหลักฐานซากอิฐดินเผาและสิ่งของเครื่องใช้สำหรับคนยุคโบราณ ปรากฏกระจายตามพื้นที่ต่างๆแต่ละตำบล จะพบเห็นได้จากสถานที่ที่ถูกระบุว่าเป็นเมืองเก่าแก่ดั้งเดิม ปรากฏในตำนานและเรื่องเล่าสืบต่อจากผู้คนแต่ละรุ่น ดังปรากฏที่วัดพระธาตุดวงเดียว ที่เป็นร่องรอยหลักฐานว่าเป็นเมืองเก่าที่ระบุว่าสร้างขึ้นในสมัยเจ้าแม่จามรี ปัจจุบันยังปรากฏคันน้ำคูดิน เศษซากหม้อดินเผา กระเบื้องเคลือบสมัยราชวงศ์หมิงและพบโบราณวัตถุมากมายที่รอการพิสูจน์จากกรมศิลปากร วัดพระธาตุห้าดวง ที่มีความเป็นมาน่าสนใจ วัดแท่นคำ โบราณสถานทุ่งกาด โบราณสถานโปงก้างที่มีเตาเผาปรากฏให้เห็น ล้วนแล้วปรากฏที่ตั้งในบริเวณเดียวกัน  นอกจากนี้ในพื้นที่ตำบลต่างๆก็มีผู้พบเห็นซากอิฐ ดินเผา กล้องมูยาดิน สิ่งของเครื่องใช้ของคนในยุคโบราณปรากฎตามสถานที่ดังกล่าว บางส่วนอยู่ในพื้นที่วัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา บางส่วนอยู่ในป่า หรืออยู่ในสวนที่ทำกินของชาวบ้าน นับว่าเป็นโบราณสถานที่สมควรได้รับการสำรวจอย่างจริงจัง

      โบราณสถานแต่ละแห่งที่พบเห็นเป็นโบราณวัตถุที่มีคุณค่า เช่น เครื่องใช้ต่างๆ เครื่องถ้วยชาม อาวุธ เครื่องสักการบูชา เครื่องใช้ที่เคยใช้งานมาแต่โบราณ บางอย่างกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัยในปัจจุบัน แต่กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่ผู้คนยังไม่เห็นความสำคัญ และอาจจะมีผู้ที่ลักลอบเข้ามาขุดเพื่อเสาะหาของที่มีค่าดังกล่าว หรือบางสถานที่เป็นวัดร้างและปัจจุบันมีพระสงฆ์เข้าไปจำพรรษาอยู่ และพยายามสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้นมาใหม่โดยไม่เห็นความสำคัญของเก่าแก่โบราณเหล่านั้น จนกระทั่งบางแห่งถูกไถทิ้งหรือขุดทำลายออกไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นสมบัติวัฒนธรรมที่มีค่าของคนไทยทุกคน  จึงมีหน้าที่ดูแล รักษา ทะนุบำรุงให้คืนสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงถึงความเจริญของบ้านเมืองแต่โบราณมา นอกจากนี้ตามลักษณะทางกายภาพที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน โบราณสถานบางแห่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่เห็นรูปทรงชัดเจน แต่จำนวนไม่น้อยที่ชำรุดหักพัง ถูกขุดรื้อค้นทำลายจนไม่เหลือรูปร่างเดิม

      เพื่อที่จะช่วยกันอนุรักษ์รักษาและสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนให้มีส่วนร่วมในการดูแลมรดกทางวัฒนธรรม  ในพื้นที่อำเภอลี้ ได้ดำเนินการจัดอบรมสร้างองค์ความรู้ให้แก่ชุมชน ได้มีความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม  มีผู้เข้ารับการอบรม 40 คน ณ เทศบาลตำบลวังดิน โดยได้รับเงินอุดหนุนจากเทศบาลตำบลวังดิน และได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ประกอบด้วยคณะวิทยากร ท่านไกรสิน  อุ่นใจจินต์ ผู็อำนวยการสำนักศฺลปากรที่ 7 เชียงใหม่ มาเป็นประธานเปิดการอบรม อ.สายกลาง  จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ อ.ยอดดนัย  สุขเกษม นักโบราณคดีปฏิบัติการ อ.เทอดศักดิ์  เย็นจุระ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน อ.ณัฐพงษ์ แมตสอง ภัณฑารักษ์ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ที่สำคัญอย่างยิ่งได้รับเกียรติจากนางเบญจวรรณ  พลประเสริฐ หัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญไชย มาเป็นวิทยากรและยังได้รับความร่วมมือจากวิทยากรในท้องถิ่นมาให้ความรู้ อ.ยงยุทธ  เกษมส่งสุข ประธาน อส.มศ.อำเภอบ้านโฮ่ง ว่าที่ร้อยตรีวิมล  ไชยมงคล ปลัดเทศบาลตำบลลี้
        มีการปรับเวลาการอบรมให้มีความเหมาะสม ผู้เข้ารับการอบรมได้รับฟังการบรรยายจากวิทยากร และออกไปในพื้นที่วัดพระธาตุดวงเดียว เพื่อเรียนรู้โบราณวัตถุที่มีอยู่กระจัดกระจาย  ซึ่งคาดว่าต่อไปจะต้องมีการวิเคราะห์และจำแนกประเภทของภาชนะดินเผา วิเคราะห์อายุและสืบค้นรื่องราวของยุคสมัย และลงทะเบียนเพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต่อไปในอนาคต

ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม

นายไกรสิน  อุ่นใจจิต์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปารที่ 7 เชียงใหม่
กล่าวเปิดอบรมสร้างองค์ความรู้แก่เครือข่ายอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม

นางสาวจตุพร  จาตา ปลัดเทศบาลตำบลวังดิน ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรี เทศมบาลตำบลวังดิน
กล่าวต้อนรับ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่และคณะวิทยากร พร้อมด้วยผู้เข้ารับการอบรม

นายเสน่ห์ จินาจันทร์ ประธานอส.มศ.อำเภอลี้ กล่าวราบงานต่อประธานในพิธี

การบรรยายหัวข้อ "กฎหมายและหลักการในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม"
โดย อ.สายกลาง  จินดาสุ นักโบราณคโีชำนาญการ

การบรรยายหัวข้อ "ประวัติศาสตร์และโบราณคดีในพื้นที่อำเภอลี้"

การบรรยายหัวข้อ "ประสบการณ์ทำงานร่วมกับเครือข่ายอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรม"
โดย ยงยุทธ  เกษมส่งสุข ประธาน อส.มศ.อำเภอบ้านโฮ่ง

การบรรยายหัวข้อ "แนวทางในการจัดการและอนุรักษ์โบราณวัคถุในเบื้องต้น"
โดย  นางเบญจวรรณ  พลประเสริฐ หัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญชัย

การบรรยายหัวข้อ "แนวทางการปฏิบัติงานในการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานเบื้องต้น"
โดย นายเทอดศักดิ์  เย็นจุระ  ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน

การบรรยายหัวข้อ "การวิเคราะห์และจำแนกภาชนะดินเผาโบราณจากแหล่งโบราณคดีเบื้องต้น"
โดย  ณัฐพงษ์  แมตสอง ภัณฑารักษ์  สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่

การบรรยายหัวข้อ "แหล่งมรดกวัฒนธรรมในชุมชนพื้นถิ่นอำเภอลี้"
โดย ว่าที่ร้อยตรีวิมล  ไชยมงคล ปลัดเทศบาลตำบลลี้

ศึกษาดูงานพื้นที่โบราณดี วัดพระธาตุดวงเดียว