การประชุมสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 ณ อาคารสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
นายเสน่ห์ จินาจันทร์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ได้ดำเนินการประชุมคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ตามวาระการประชุม
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งเพื่อทราบ
1.1 รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนคนใหม่ที่ดูแลงานวัฒนธรรม นายชาตรี กิตติธนดิตถ์
1.2 แสดงความยินดี กับคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ
1.2.1 นายทรงชัย สมปรารถนา ผู้ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช 2565 สาขาการเล่นพื้นบ้านกีฬาพื้นบ้านและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
1.2.2 นางสาวสมพร คำวัง ผู้ได้รับประกาศเกียรติคุณสตรีดีเด่น เนื่องในวันสตรีสากล ประจำปีพุทธศักราช 2566 สาขาสตรีดีเด่น ด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมภาคเหนือ
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
2.1 รายงานการประชุมครั้งที่ 2/2565 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว
3.1 การดำเนินโครงการภูมิปัญญาลือเลื่องเมืองลำพูน ในปีงบประมาณ 2566
การดำเนินโครงการมรดกภูมิปัญญาลือเลื่องเมืองลำพูน กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้จัดสรรงบประมาณให้สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน จำนวน 150,000 บาท นั้น ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลภูมิปัญญาของแต่ละอำเภอ จึงได้จัดจ้างนายสันติศาสน์ วรรณสัย ได้จำนวนข้อมูลทั้งสิ้น 10 ภูมิปัญญา ดังนี้
3.1.1 การปั้นพระพุทธรูปสกุลช่างลำพูน อ.เมืองลำพูน
3.1.2 การทำพัดใบตาล อ.เมืองลำพูน
3.1.3 การทำน้ำบวย อ.ป่าซาง
3.1.4 ผ้าจกโหล่งลี้ อ.ลี้
3.1.5 ศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนา อ.ลี้
3.1.6 ผ้าตีนจกกี่ทอมือบ้านหนองปลาสวาย อ.บ้านโฮ่ง
3.1.7 ไม้แกะสลัก อ.แม่ทา
3.1.8 ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ อ.ทุ่งหัวช้าง
3.1.9 น้ำถุ้ง อ.บ้านธิ
1.1.10 การปั้นหม้อดินเผาโบราณ อ.เวียงหนองล่อง
3.2 การจัดงาน “เทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน ระหว่างวันที่ 25กันยายน 2565 ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เนื่องในงานประเพณียี่เป็งเมืองลำพูน ที่ผ่านมา
ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูนพร้อมด้วยวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ได้ให้สาระสำคัญเพิ่มเติมว่า ทางผู้บริหารระดับสูงได้เสนอข้อมูลเทศกาลโคมแสนดวง เข้าสู่การพิจารณาเป็นเทศกาลสำคัญของระดับประเทศ จาก 76 จังหวัด ได้ทำการพิจารณาคัดเลือกเหลือ 16 เทศกาล ซึ่งเทศกาลโคมแสนดวงก็ได้รับการพิจารณาให้เป็นหนึ่งในเทศกาลทั้ง 16 เทศกาล ทั้งๆที่ได้จัดกันมาประมาณ 10 ปีเท่านั้น และคาดว่าต่อไปอาจจะเสนอเทศกาลสลากย้อมหรือเทศกาลสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย เข้าไปสู่การพิจารณาในปีต่อไป
ในช่วงนี้ท่างวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ได้ริเริ่มทำไปแล้วคือ “อินทยงยศ ตำนานร้อยปี เมืองลำพูน”ซึ่งได้ริเริ่มจัดตั้งแ 25 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นมา เปิดในวันเสาร์-อาทิตย์ จนถึงเดือนเมษายน 2566 มีการปิดถนนอินทยงยศช่วงพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญชัย ไปจนถึงร้านโกฮัง ใกล้ศาลากลางจังหวัดลำพูนหลังเก่า มีการนำการแสดง และนำสินค้ามาจำหน่าย การแต่งกายย้อนยุคของเมืองลำพูน ได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง อาจจะมีการขยายพื้นที่ออกไป อาจขยายจนถึงที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดลำพูน และต่อไปทางเทศบาลเมืองลำพูน อาจจะรับไปดำเนินการต่อได้
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องนำเสนอเพื่อทราบ
4.1 รายงานสถานะทางการเงิน
1.สมุดเงินฝากธนาคารกรุงไทย สาขาลี้ (เปลี่ยนจากสมุดเดิม) บัญชีเลขที่ 662-1-88878-3
ชื่อบัญชี สภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ โดย นายเสน่ห์ จินาจันทร์ และนายอภิชาต อาจหาญ และนางสุนีย์ ทองสัมฤทธิ์ ปรับสมุดเงินฝากเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2566 จำนวนเงิน 3,723.39 บาท
2. สมุดเงินฝากธนาคารกสิกรไทย สาขาลี้ บัญชีเลขที่ 347-2-48686-0 ชื่อ นายเสน่ห์ จินาจันทร์ และนางนิพันธ์ วุฒิชาติ และนายอภิชาต อาจหาญ ปรับสมุดเงินฝากเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566 จำนวนเงิน 42,988.02 บาท(เงินนอกงบประมาณ)
3.สมุดเงินฝากธนาคารกสิกรไทย สาขาลี้ บัญชีเลขที่ 347-2-46781-5 ชื่อ สภาวัฒนธรรมอำเภอลี้โดยนายเสน่ห์ จินาจันทร์, นางสุนีย์ ทองสัมฤทธิ์ม, นายอภิชาติ อาจหาญ ปรับสมุดเงินฝากเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 จำนวนเงิน 1,341.48 บาท (เงินงบประมาณ)
4.สมุดเงินฝากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาลี้ บัญชีเลขที่ 020161658180 ชื่อบัญชี สภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ปรับสมุดเมื่อ 24 กันยายน 2565 จำนวนเงิน 516.97 บาท (รองรับงบประมาณโครงการ)
4.2 การดำเนินโครงการภูมิปัญญาลือเลื่องเมืองลำพูน ในปีงบประมาณ 2566
ให้สำรวจดูว่า ยังมีภูมิปัญญาใดที่สมควรจัดเก็บไว้มิให้สูญหาย เป็นภูมิปัญญาที่มีมาแต่เดิมและมีคุณค่าสมควรจะรักษาไว้ อาจจะประสานกับทางเทศบาล/อบต. ช่วยกันบันทึกภูมิปัญญา รักษาไว้มิให้สูญหายและจะพัฒนาต่อไปอย่างไร พิจารณาเลือกภูมิปัญญาที่จะเก็บ และหากสามารถจัดเก็บไว้ได้ก็จะเป็นการดี
4.3 การแต่งตั้งที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน และการขอเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงแก้ไขรายชื่อคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
ทางกรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้แจ้งให้สภาวัฒนธรรมทุกจังหวัดว่าให้แต่งตั้งวัฒนธรรมจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของสภาวัฒนธรรมจังหวัด สำหรับจังหวัดลำพูนได้ ได้ขอให้ผู้ดำรงตำแหน่งวัฒนธรรมจังหวัดจดแจ้งเป็นเครือข่ายวัฒนธรรมระดับจังหวัด และได้ขอแต่งตั้งเป็นเลขานุการสภาวัฒนธรรมจังหวัด โดยปัจจุบันนี้ จึงขอแต่งตั้งนางสมพร วงศ์ฝั้น อดีตข้าราชการที่เคยปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมวัฒนธรรมจังหวัดมาก่อนแล้ว ซึ่งจะมีความรู้ความเข้าใจในภาระงานเป็นอย่างดีดี เป็นเลขานุการสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
4.4 การเสนอขอพระราชทานเรื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งคุณาภรณ์ ประจำปี 2567 เคยมีการเสนอขอไป แต่อาจจะได้ประมาณไม่เกิน 10 เหรียญทั่วประเทศ ดังนั้น ถ้าท่านต้องการจะส่งเอกสารคำขอ สามารถโหลดข้อมูลได้จากลิงค์
กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้ดำเนินการจัดทำเข็มสำหรับคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแต่ละระดับ แต่เท่าที่ผ่านมา คณะกรรมการไม่ได้มารับไป ทำให้ตกค้างที่สภาวัฒนธรรมจังหวัดจำนวนมาก ดังนั้น จึงขอส่งเข็มดังกล่าวมาให้คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมให้ได้รับ และจะได้นำไปติดหน้าอกเสื้อเบื้องซ้าย รวมทั้งการขอมีบัตรประจำตัวกรรมการสภาวัฒนธรรม สามารถยื่นคำขอได้ตามแบบที่กำหนด
(สืบเนื่องจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้ส่งเข็มกลัดติดเสื้อของคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมระดับจังหวัดอำเภอและระดับตำบลมาให้ แต่มีคนมารับเอาน้อย ดังนั้น จึงขอมอบให้กรรมการทุกคน)
4.5 การเข้าไปมีส่วนร่วมในงานสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย ประจำปีพ.ศ.2566 ระหว่างวันที่ 28 เมษายน 2566 ถึง 4 พฤษภาคม 2566
ในปีนี้ จะลดเรื่องการแห่ครัวตานลง แต่ก็ยังมีตามความสมัครใจ มีขบวนน้ำทิพย์จาก 8 อำเภอ ขอให้สภาวัฒนธรรมอำเภอและเครือข่ายวัฒนธรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดขบวนแห่น้ำทิพย์ และคาดว่าน่าจะจัดให้ยิ่งใหญ่กว่าทุกปี มีการนำเครื่องใหญ่(อาสนาพระเจ้า) มาเข้าขบวนด้วย
4.6 การจัดงานไหว้สาป๋ารมี 145 ปีครูบาเจ้าศรีวิชัย 11 มิถุนายน 2566 ณ วัดจามเทวี
4.7 โครงการที่สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูนได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน จำนวน 300,000 บาท
1. โครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพผู้นำศาสนาและผู้เกี่ยวข้องในจังหวัดลำพูน ดำเนินการจัดอบรม จำนวน 4 รุ่นๆละ 1 วัน(เลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มอาหารว่าง)
อำเภอลี้ – อำเภอทุ่งหัวช้าง วันที่ 23 มีนาคม 2566 ณ หอประชุมโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุห้าดวง ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
2. โครงการฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมเด็กเยาวชนและประชาชนในจังหวัดลำพูน
3. โครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายวัฒนธรรม จังหวัดลำพูนจะทำการอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมและเครือข่ายวัฒนธรรม กำหนดเป็น 4 รุ่น (ลี้กับทุ่งหัวช้าง) คาด่าจะอบรมประมาณหลังจากงานไหว้สาป๋ารมีครูบาศรีวิชัยผ่านไปแล้ว
เป็นเทศกาลประเพณี เพื่อยกระดับไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ ประจำปีงบประมาณ 2566
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องนำเสนอเพื่อพิจารณา
5.8.1 แนวทางและมาตรการรณรงค์เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรมเนื่องในประเพณีสงกรานต์ พุทธศักราช 2566 “สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล”
4.8.2 การจัดพิธีดำหัวประเพณีสงกรานต์ ขององค์กรต่างๆในพื้นที่จังหวัดลำพูน
4.8.3 การจัดเก็บมรดกภูมิปัญญาในพื้นที่จังหวัดลำพูน ทั้งที่จัดเก็บไปแล้วและจัดเก็บเพิ่มเติม
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ
1.ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลศรีวิชัย เสนอที่ประชุม ว่ามีแนวคิดในการจัดกิจกรรมบ้านครูบา ชาติภูมิสถานบ้านครูบา ตอนนี้มอบหมายให้ทต.ศรีวิชัย ดูแล
2.สภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ จะมีซอพื้นเมือง วันที่ 13 เมษายน 2566 เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป ขอเทศบาลจัดทำเวทีให้ด้วย