เมื่อปีพ.ศ.2560 – 2561 สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้สำรวจทางโบราณคดีในพื้นที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พบร่องรอยถลุงเหล็กโบราณจำนวนมากกระจายตัวทั่วพื้นที่อำเภอลี้ จึงได้เก็บตัวอย่างหลักฐานจากแหล่งถลุงเหล็กโบราณสิบดร ไปศึกษาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี AMS Dating พบว่ากิจกรรมการถลุงเหล็กดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วง 2,500 – 2,700 ปีมาแล้ว ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าบรรพชนชาวลี้มีวิทยาการถลุงเหล็กไม่ต่ำว่า 2,500 ปีมาแล้วและสามารถผลิตเหล็กได้ในระดับอุตสาหกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนหรือส่งออกไปยังดินแดนภายนอก ดังนั้น พื้นที่ของอำเภอลี้จึงถือเป็นย่านอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กของโลกยุคโบราณที่มีความเก่าแก่และมีขนาดใหญ่มากที่สุดในดินแดนล้านนา เท่าที่มีการค้นพบมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม...

เมื่อก่อน พ.ศ. ๑๘๐๐ คนไทยที่อยู่อาศัยอยู่ในอาณาจักรน่านเจ้าถูกศัตรูรุกราน จึงได้พากันอพยพหนีจากที่อยู่เดิมลงมาทางทิศใต้ ในครั้งนั้นได้มีคนไทยกลุ่มหนึ่งอพยพหนีภัยศึกมาจากทางแคว้นหลวงพระบาง ลงมาสู่แคว้นลานนา ในกลุ่มดังกล่าวมีพระนางจามะรีเป็นหัวหน้า มีท้าวพวงมหาด หรือปวงมหาด ซึ่งเป็น ผู้สนิทใกล้ชิดเป็นผู้นำทางโดยมีช้างเป็นพาหนะพาไพร่พลเมืองหนีภัย

ล่อง ลงมาเรื่อยๆ ตามแนวเมืองฝางปัจจุบัน เลียบเลาะมาตามแม่ระมิงค์ (แม่ปิง) ถึงดอยแห่งหนึ่งในเขตจอมทอง ช้างทรงของพระนางจามะรี ได้ออกวิ่งจากดอยลงสู่แม่น้ำ เพื่อจะข้ามไปสู่ฟากข้างหน้า

อ่านเพิ่มเติม...