อนุสาวรีย์สามครูบาที่ตั้งอยู่หน้าที่ว่าการอำเภอหลังเก่า ประกอบด้วยครูบาเจ้าศรีวิชัย ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2548 สมัยนายอำเภอชัยสิทธิ์  รัตนชัยสิทธิ์ โดยที่แต่เดิมมานั้น คณะศรัทธาประชาชนชาวอำเภอลี้ได้กำหนดให้มีการสรงน้ำพระพุทธรูปประจำอำเภอและสรงน้ำรูปเหมือนครูบาเจ้าทั้งสามองค์ โดยได้อัญเชิญรูปเหมือนครูบาศรีวิชัยมาจากวัดบ้านปาง รูปเหมือนครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีมาจากวัดพระพุทธบาทผาหนาม รูปเหมือนครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนามาจากวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ในวันที่ 18 เมษายนของทุกปี แต่ต่อมาได้ละเลยกิจกรรมดังกล่าวนี้ไป ในปัจจุบันคณะศรัทธาประชาชนชาวอำเภอลี้ยังมีความเคารพศรัทธาในบุญญาปารมีของครูบาทั้งสามองค์ สมควรที่จะมีการบูรณะอนุสาวรีย์สามครูบาให้มีความเหมาะสมตามยุคสมัยโดยจะทำการติดกระจกรอบด้าน ติดลายดุนรอบเสาพร้อมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงามเหมาะสม เพื่อให้ศรัทธาสาธุชนและประชาชนได้มากราบไหว้สักการะบูชา เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจและกำหนดให้มีการสรงน้ำรูปเหมือนสามครูบาเหมือนเช่นครั้งอดีตที่ผ่านมา
         ฝ่ายปกครองอำเภอลี้โดยมีนายวิวัฒน์  จันทร์โอภาส นายอำเภอลี้ ชมรมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านอำเภอลี้ สภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ หวหน้าส่วนราชการ ผู็บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษารวมทั้งศรัทธาประชาชนชชาวอำเภอลี้ จึงได้ระดมทุนโดยการทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีขึ้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้บริจาคปัจจัยรวมจำนวน 163,087 บาท(ยอดปัจจัย ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563) ซึ่งคณะทำงานได้ติดต่อช่างมาทำการบูรณะ ดำเนินการติดกระจกรอบองค์สามครูบา ทาสีชนิดทนทานอย่างดี ปรับภูมิทัศน์และไฟฟ้าส่องสว่าง ไม้ดอกไม้ประดับเพื่อให้สวยงาม ประชาชนที่มาติดต่อราชการจะได้มากราบไหว้สักการะบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล 

          นอกจากนี้  จะได้พิจารณาทบทวนประเพณีสรงน้ำรูปเหมือนสามครูบาขึ้นมา ซึ่งแต่เดิมนั้น ได้กำหนดให้มีการสรงน้ำรูปเหมือนสามครูบาในวันที่ 18 เมษายนของทุกปี โดนจะมีคณะศรัทธาประชาชนจากทุกพื้นที่ทุกตำบลได้มารวมตัวกัน ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอลี้ ประกอบพิธีทางศาสนา ไหว้พระสมาทานศีล พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ สรงน้ำพระพุทธรูปประจำอำเภอและสรงน้ำรูปเหมือนสามครูบาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อนุสาวรีย์สามครูบาได้ตั้งอยู่หน้าที่ว่าการอำเภอลี้หลังเก่า ซึ่งเป็นอาคารไม้สักทั้งหลังยังมีสภาพมั่นคงแข็งแรง(ปัจจุบัน กศ.น.อ.ลี้ ใช้เป็นสำนักงาน) และเป็นอาคารที่สำคัญ สืบเนื่องจากในการก่อสร้างครั้งแรกนั้น ครูบาอภิชัยขาวปี ได้ามานั่งหนัก(เป็นประธาน) ในการก่อสร้าง คาดว่าเมื่อปีพ.ศ.2495 และเป็นอาคารที่รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ พระบรมราชินีนาถ ในคราวที่เสด็จประพาสภาคเหนือ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2501 โดยพระองค์ได้เสด็จเยี่ยมพศกนิกรชาวอำเภอลี้ และได้ประทับช่องหน้ามุขที่ว่าการอำเภอชั้นสอง ถือได้ว่าเป็นอาคารที่สำคัญทางประวัติศาสตร์

รูปแบบการบูรณะสามครูบา

ประเพณีไหว้สาป๋ารมีสามครูบา บูชาเจ้าแม่จามรี ตานขันเข้าแด่บรรพบุรุษ เป็นกิจกรรมที่ศรัทธาประชาชนชาวอำเภอลี้ โดยเฉพาะชาวตำบลลี้ ซึ่งมีพื้นเพดั้งเดิมอาศัยอยู่ใกล้กับสถานที่สำตัญทางประวัติศาสตร์ชุมชน อันได้แก่ วัดพระธาตุดวงเดียว  ซึ่งเป็นวัดแรกที่เจ้าแม่จามรีได้สร้างขึ้นมาหลังจากที่ได้รอนแรมอพยพหลบลี้หนีภัยจากหลวงพระบาง โดยมีช้างพลายสุวรรณมงคล และเหล่าบรรดาข้าราชบริพารที่ติดตามมาซึ่งถูกระบุไว้ในตำนาน ซึ่งตำนานมีหลายตำนานที่ได้กล่าวถึงการสร้างบ้านแปงเมือง ของเจ้าแม่จามรี ผู็สร้างเมืองลี้ เท่าที่ได้ค้นพบจะเป็นอักษรธรรมล้านนา จารไว้ว่า ตำนานจามรีและตำนานเจดีย์ห้ายอด

อ่านเพิ่มเติม...

สืบเนื่องจากวัดลี้หลวงซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ดั้งเดิมของเมืองลี้  เดิมเป็นซากวัดเก่าที่อยู่ร่วมสมัยเดียวกันกับเวียงโบราณ เคยมีการสร้างวัดขึ้นอีกครั้งหนึ่งแต่ก็ได้ร้างไปอีก จนกระทั่งเกิดศึกระหว่างล้านนากับกรุงศรีอยุธยา ผู้คนที่อพยพมาอยู่บริเวณนี้จึงได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดร้างแห่งนี้ขึ้นมาอีกครั้ง โดยได้สร้างวิหารขึ้นครอบซุ้มที่ประดิษฐานพระพุทธรูปของเดิมพร้อมพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์รวม 3 องค์ ซึ่งพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวอำเภอลี้ซึ่งได้อัญเชิญออกมาให้ประชาชนได้สรงน้ำเป็นประจำทุกปีทีช่วงเทศกาลสงกรานต์
นอกจากพระพุทธรูปองค์สำคัญแล้ว วัดลี้หลวงยังเก็บรวมรวบเอกสารโบราณเช่น คัมภีร์ใบลานที่จดบันทึกไว้ด้วยตัวอักษรธรรมล้านนาจำนวนมากในหอไตร ซึ่งนับเป็นสมบัติของแผ่นดินที่มีค่าเป็นอย่างยิ่งที่ยังไม่มีการสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนอย่างเป็นระบบ รวมถึงการปริวรรตเอกสารโบราณเหล่านั้นให้เป็นอักษรไทยมาตรฐานที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจในปัจจุบัน

 

อ่านเพิ่มเติม...

 

สภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์เอกสารใบลานวัดลี้หลวง ขึ้นในปีพ.ศ.๒๕๕๘ ด้วยหลักการและเหตุผลดังนี้

 

อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนเป็นอำเภอเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานหลายร้อยปี เกี่ยวเนื่องกับตำนานเจ้าแม่จามรี เจ้าหญิงจากล้านช้างที่ยกกองกำลังลี้ภัยมาหาเมืองใหม่พำนักอาศัย โดยอาศัยการเสี่ยงทายของช้างทรงจึงได้สร้างเมืองขึ้นที่บริเวณนี้เรียกว่าเมืองลี้เมืองลี้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับจนเสื่อมลงและกลายเป็นเมืองร้างไปในที่สุด ในปัจจุบันนี้หลงเหลือซากโบราณสถานให้เห็นเป็นบางแห่ง และหลายแห่งยังคงปรากฏการใช้งานในรูปแบบของวัด เช่น วัดลี้หลวง ที่ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

 

 

อ่านเพิ่มเติม...

        ประเพณีบวงสรวงศาลเจ้าพ่อหลักเมืองลี้ เป็นประเพณีความเชื่อที่ชาวเมืองลี้ให้ความสำคัญ โดยกำหนดให้มีงานประเพณีบวงสรวงศาลเจ้าพ่อหลักเมืองลี้ในเดือน ๙ เหนือ ขึ้น ๙ ค่ำ ในปีพ.ศ.๒๕๕๘ นี้ ตรงกับวันอังคารที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘

   ในปีพ.ศ.๒๕๕๘ พี่น้องชาวเมืองลี้ ได้ร่วมใจกันจัดให้มีงานประเพณีบวงสรวงสาลเจ้าพ่อหลักเมืองลี้ขึ้น เพื่อเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตา เป็นความเชื่อว่า เจ้าเมืองหรือผู้ครองเมืองลี้มาตั้งแต่อดีตอันยาวนาน ได้ปกปักคุ้มครองรักษาให้ชาวเมืองลี้ได้มีความเป็นอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา ทำให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนา พืชพันธุ์ธัญญาหารได้ผลดี มีความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนชาวเมืองลี้มีความรักใคร่กลมเกลี่ยวสามัคคีกัน

อ่านเพิ่มเติม...