อำเภอลี้ร่วมกับเทศบาลบตำบลวังดินและสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ จัดกิจกรรมถวายพานพุ่มเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชการเจ้า กรมหลวงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๗ ณ ลานอนุสาวรีย์สามครูบา เทศบาลตำบลวังดิน
อำเภอลี้โดยมีนายประเชิญ สมองดี นายอำเภอลี้ พร้อมด้วยข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน-ผู้ใหญ๋บ้าน สภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ได้จัดกิจกรรมถวายพานพุ่มเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชการเจ้า กรมหลวงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น. ณ ลานอนุสาวรีย์สามครูบา เสร็จสิ้นพิธีแล้วได้เข้ารับชมหอประวัติศาสตร์อำเภอลี้ ซึ่งมีวัตถุโบราณและหลักฐานร่องรอยความเป็ฯมาของเมืองลี้ รวมทั้งเรื่องราวขององค์สามครูบา เปิดให้ชมฟรีเพื่อสร้างการรับรู้และอนุรักษ์สืบสานมรดกของท้องถิ่น
การประชุมคณะกรรมการมรดกภูมิปัญญาของจังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมนั้น ๔ ศาลากลางจังหวัดลำพูน โดยมีนายโยธฺน ประสงค์ความดี ประธานการประชุม เพื่อให้การดำเนินงานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ งานส่งเสริม สืบสาน รักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อพิจารณารายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดลำพูน สามารถนำไปสู่การขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ
การประกอบพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 145 รูปและเปิดเฮือนนิทรรศการครูบาเจ้าศรีวิชัย ณ ชาติภูมิสถานครูบาเจ้าศรีวิชัย บ้านปาง ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ จ.ลำพูน
เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพร้อมญาติพี่น้อง ได้มีศรัทธาปสาทะในป๋ารมีครูบาเจ้าศรีวิชัย จึงได้เชิญช่วยศรัทธาประชาชนมาร่วมประกอบพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 145 รูป ในโอกาสครบรอบ 145 ปีชาตกาลครูบาเจ้าศรีวิชัยซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สอดคล้องกับแนวทางที่จะเสนอชื่อครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นบุคคลสำคัญของโลกต่อองค์การยูเนสโก ในปีพ.ศ.๒๕๗๑
กิจกรรมเริ่มต้นเมื่อเวลา ๐๖.๓๐ น. ศรัทธาประชาชนมาพร้อมกัน ณ สถานที่ประกอบพิธี นายชาตรี กิตติธนดิตถ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ได้เดินทางมาเป็นประธานพร้อมด้วยนายวิวัฒน์ จันทร์โอภาส นายอำเภอลี้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกเทศมนตรีและพี่น้องประชาชนในตำบลศรีวิชัย ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กล่าวนำไหว้พระสมาทานศีล นักศึกษาปริญญาโท กล่าวรายงานต่อประธานในพิธี ประธานกล่าวชื่นชมและเปิดเฮือนนิทรรศการครูบาเจ้าศรีวิชัย ต่อจากนั้น พระสงฆ์จำนวน ๑๔๕ รูป เดินรับบิณฑบาตรจากศรัทธาประชาชน พระสงฆ์อนุโมทนาเป็นเสร็จพิธี
ภาพกิจกรรม
เทศบาลตำบลวังดินร่วมกับสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ได้ดำเนินการโครงการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม : กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวโบราณ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖
วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ สภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการอบรมโครงการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวโบราณสถาน ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลวังดิน ประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๖ โดยใช้ห้องประชุมเทศบาลตำบลวังดิน มีผู้เข้ารับการอบรมจากคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ เครือข่ายวัฒนธรรมและผู้แทนจากชุมชน
พื้นที่เขตเทศบาลตำบลวังดิน ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ตั้งของเมืองเก่าของเมืองลี้ ซึ่งปัจจุบันปรากฎร่องรอยคันน้ำคูดิน ซากอิฐ ดินเผาในรูปแบบภาชนะต่างๆกระจัดกระจายทั่วบริเวณโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดพระธาตุดวงเดียว วัดพระธาตุห้าดวง วัดพระธาตุแท่นคำ โบราณสถานทุ่งกาด โบราณสถานโปงก้าง แต่ยังไม่ได้รับขุดค้นทางโบราณคดี แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็เป็นสถานที่ที่มีทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ จึงอยู่ในความสนใจของนักประบัติศาสตร์และรักโบราณคดี ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าว สมควรที่จะมีการปรับปรุงหรือพัฒนาเพื่อรองรับการท่องเที่ยว จึงได้ให้องค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย หลักการในการอนุรักษ์โบราณสถาน และร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน เพื่อเป็นแนวสทางเสนอแนะต่อเทศบาลตำบลวังดินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้นำไปพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทต่อไป
ขอขอบคุณคณะวิทยากร ประกอบด้วยอ.ณัฐพงษ์ แมคสอง หัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญชัย และคณะ ขอบคุณคุณอุดมศักดิ์ มโนสมุทร กลุ่มช่าง 4 หมู่หริภุญชัย และขอบคุณ ดร.อาภากร ปัญโญ ซึ่งจะได้ช่วยกันเป็นพลังขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมให้ก้าวไปข้างหน้า ทันยุคทันสมัยและคงความมั่นคงยั่งยืนสืบไป
ภาพกิจกรรม
เทศบาลตำบลวังดิน จัดโครงการลานวัฒนธรรมเพื่อเยาวชนและประชาชน บริเวณขัวแม่แต๊ะ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 ซึ่งขัวแม่แต๊ะเป็นสะพานข้ามลำห้วยแม่แต๊ะ เชื่อมระหว่าง 2 หมู่บ้าน คือ บ้านพระธาตุห้าดวง หมู่ที่ 15 และบ้านลี้ หมู่ที่ 6 ซึ่งเมื่อก่อนที่จะมีสะพานดังกล่าว การสัญจรไปมาของชาวบ้าน จะต้องเดินทางอ้อมไปสู่จุดหมาย อาทิเช่น บ้านลี้ จะไปโรงพยาบาลลี้หรือวัดพระธาตุห้าดวง วัดพระธาตุดวงเดียว จะต้องเดินทางอ้อมผ่านหมู่บ้านวังดิน หมู่ที่ 4 ซึ่งระยะทางไกลและใช้เวลาในการเดินทางมากกว่า
ต่อมาได้มีการสร้างถนนตามรอยบุญครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาโดยความร่วมมือของคณะศรัทธาประชาชนชาวอำเภอลี้ โดยเริ่มดำเนินการโดยคณะสงฆ์อำเภอลี้ นำโดยหลวงพ่อพระครูอินทวุฒิคุณ เจ้าคณะอำเภอลี้ และสนับสนุนอุปถัมภ์โโยพระอธิการอ่อนแก้ว ชยะเสโณ เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ได้ขอความร่วมมือจากคณะศิษยานุศิษย์ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาซื้อที่ดินซึ่งเป็นที่นาของชาวบ้าน 2 แปลง และต่อมาคณะศรัทธาประชาชนได้ร่วมบริจาคเงินซื้อดินลูกรังเพื่อทำการถมดินสร้างเป็นถนนเชื่อมระหว่าง 2 หมู่บ้าน ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาวประมาณ 800 เมตร และได้ทำการสร้างสะพานข้ามลำห้วยแม่แต๊ะโดยใช้ชื่อว่า "สะพานบุญครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา" หรือ "ขัวแม่แต๊ะ" โดยความร่วมมือของทุกฝ่ายทุกภาคส่วน โดยไม่ได้ใช้เงินงบประมาณทางราชการ
เทศบาลตำบลวังดิน มีความประสงค์ที่จะใช้สถานที่ดังกล่าวจัดกิจกรรมเพื่อให้เยาวชนและประชาชนได้เข้ามาใช้ประโยชน์ ในโอกาสแรกนี้ได้ทดลองจัดกิจกรรมโครงการลานวัฒนธรรมเพื่อเยาวชนและประชาชนขึ้น เพื่อให้เยาวชนและประชาชนได้มาใช้สถานที่ดังกล่าว อาทิเช่น จัดกิจกรรมตลาดพื้นเมือง ให้ชาวบ้านนำสิ่งของพืชผักผลไม้ หรือสินค้าพื้นถิ่นนำมาจำหน่าย เป็นสถานที่จัดกิจกรรมการแสดงศิลปะวัฒนธรรม เป็นสถานที่จัดกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะด้านต่างๆ ซึ่งสามารถเรียนรู้เรื่องราวของเมืองลี้ได้เป็นอย่างดี และต่อไปก็สามารถขยายผลให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนได้เป็นอย่างดี
นายวิวัฒน์ จันทร์โอภาส นายอำเภอลี้ ประธานพิธีกล่าวเปิดโครงการลานวัฒนธรรมเพื่อเยาวชนและประชาชน นายถาวร สามภูศรี นายกเทศมนตรีตำบลวังดิน กล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการจัดงาน มีผู้มาร่วมงานจำนวนมากพอสมควร นายเข็มชัย จุ๋มพระสิงห์ กำนันตำบลลี้ นายเสน่ห์ จินาจันทร์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ผู้ใหญ่บ้านทั้ง 4 หมู่บ้านประกอบด้วย นายสามารถ โปธิก๋า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 15 บ้านพระธาตุห้าดวง นายอนุสรณ์ เลือดนักรบ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 บ้านลี้ นายณรงค์ เตจ๊ะสา ผู้ใหญ๋บ้านหมู่ที่ 4 บ้านวังดิน นายเกรียงศักดิ์ คำเครือ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 14 บ้านวังดินใหม่ มีเด็กและเยาวชนจากโรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา ชาวบ้านได้นำสินค้าพื้นเมือง พืชผักผลไม้ ขนมต่างๆนำมาจำหน่าย บรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อยแบบล้านนา
เทศบาลตำบลวังดินร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอลี้ พร้อมด้วยส่วนราชการ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้ร่วมกันจัดงานส่งเสริมประเพณีสงกรานต์หรือป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ประจำปีพ.ศ.2566 ช่วงวันที่ 12 - 13 เมษายน 2566 ณ บริเวณถนนสาย 106 ช่วงหน้าโรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยาถึงหน้าอนุสาวรีย์สามครูบา
ขบวนแห่พระพุทธรูปและดาบน้ำลี้สิริเวียงชัยประจำอำเภอลี้ รูปเหมือนองค์สามครูบา นักบุญล้านนาแห่งเมืองลี้ ขบวนน้ำทิพย์ น้ำขมิ้นส้มป่อย ขบวนเครื่องสักการะล้านนา ได้เคลื่อนขบวนเวลา 13.00 น.จากหน้าร้านครัวน้ำพุ มาตามถนนสาย 106 ผ่านหน้าสถานีตำรวจภูธรลี้ ผ่านสี่แยกหน้าที่ว่่าการอำเภอลี้ เข้าสู่บริเวณสถานที่จัดงาน พร้อมด้วยขบวนของประชาชนที่ได้พร้อมใจกันมาร่วมงานพิธี
เวลา 14.00 น.นายถาวร สามภูศรี นายกเทศมนตรีเทศมนตรีตำบลวังดิน ได้กล่าวรายงานต่อประธานพิธี นายวิวัฒน์ จันทร์โอภาส นายอำเภอลี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม เพื่อทรงไว้ซึ่งคุณค่าของประเพณีที่ยังคงดำรงไว้ให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้ยึดถือปฏิบัติ ได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตา ต่อจากนั้นประธานได้พิธีได้กล่าวเปิดงานประเพณีปี๋ใหม่เมือง นักเรียนโรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยาได้มีการแสดงประกอบพิธีเปิด หลังจากนั้นแล้วประธานในพิธีได้นำผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการและประชาชนผู้มาร่วมงานได้เข้าสักการะสรงน้ำพระพุทธรูปประจำอำเภอและสรงน้ำรูปเหมือนองค์สามครูบาเพื่อความเป็นสิริมงคล ต่อจากนั้นก็เป็นการแสดงดนตรีและการแสดงต่างๆของกลุ่มองค์กรต่างๆ
สำหรับวันที่ 13 เมษายน 2566 ช่วงเช้ามีการประกอบพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปโบราณที่วัดลี้หลวง และบนเวทีการแสดง สภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ได้นำคณะช่างซอพื้นเมืองมาซอขับกล่อมให้ประชาชนฟังอย่างสนุกสนานและการแสดงดนตรีของนักเรียนโรงเรียนเวียงเจีย์วิทยา ประชาชนได้ออกมาเล่นน้ำสงกรานต์ในบริเวณสถานที่จัดไว้ ปราศจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล บรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จนถึงเวลา 18.00 น.ปิดงาน