สภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ จัดประชุมสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ น.ณ หอประวัติศาสตร์เทศบาลตำบลวังดิน โดยมีนายเสน่ห์ จินาจันทร์ ทำหน้าที่ประธานการประชุม
       การประชุมครั้งนี้ ได้เชิญนายประเชิญ สมองดี นายอำเภอลี้ เข้าร่วมประชุมเพื่อพบปะคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ด้วยเหตุที่กรรมการสภาวัฒนธรรมนั้น เป็นผู้มีจิตสาธารณะ เสียสละเวลา เพื่อมาเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนงานสภาวัฒนธรรมให้มีประสิทธิภาพ ประกอบกับอำเภอลี้ เป็นเมืองวัฒนธรรม มีร่องรอยของประวัติศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนาน 
      ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีนักวิชาการ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ได้มาเข้าร่วมประชุมด้วยเพื่อให้ข้อเสนอแนะและพบปะกับคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมให้เกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

นายประเชิญ สมองดี นายอำเภอลี้

        เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ชุมชนคุณธรรมวัดพวงคำ ได้มีโอกาสต้อนรับคณะกรรมการประเมินโครงการ "เที่ยวชุมชนยลวิถี" ปีพ.ศ.๒๕๖๗ โดยมีท่านโยธิน ประสงค์ความดี รองผวจ.ลำพูน โดยการมอบหมายจากผวจ.ลำพูน เป็นประธาน พร้อมคณะกรรมการประเมินจากจังหวัดลำพูน ทั้งนี้ได้มีนายประเชิญ สมองดี นายอำเภอลี้ นายอัคค์สัจจา ใจบุญตระกูล ปลัดอาวุโส พระครูวิจิตรปริยัติการ ดร.เจ้าอาวาสวัดพวงคำ นางศิริรัตน์ โอภาพ วัฒนธรรมจังหวัดลำพูน นายเสน่ห์ จินาจันทร์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ให้การต้อนรับ กลุ่มแม่บ้านบ้านปวงคำ ฟ้อนต้อนรับ จากนั้นได้เข้ากาบนมัสการหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนพระครูวิลาศคณาทร อดีตเจ้าคณะอำเภอลี้ เข้ากราบนมัสการพระพุทธรูปในวิหาร จากนั้นได้เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายของชุมชน โดยมีผู้ใหญ่บ้านและประชาชนชาวบ้านปวงคำให้การต้อนรับด้วยความอบอุ่น ทั้งนี้ นางสุนีย์ ทองสัมฤทธิ์ ประธานกลุ่มผ้าทอ ผ้าจกโหล่งลี้ ได้นำชมผลิตภัณฑ์ภายในศูนย์เรียนรู้ ต่อจากนั้นได้นั่งรถนำเที่ยวไปเยี่ยมชมโฮมสเตย์ที "ภูหมื่นลี้" ที่ลูกหลานคนบ้านปวงคำได้สร้างขึ้นมาเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เชื่อมโยงกิจกรรมกับชุมชนคุณธรรมวัดพวงคำด้วยดีมาตลอด เยี่ยมชมวิถีของชุมชน แล้วกลับมารับประทานอาหารกลางวันประเภทอาหารพื้นเมืองดั้งเดิมของวงคำ จากฝีมือกลุ่มแม่บ้านบ้านปวงคำโดยแท้จริง
ชุมชนคุณธรรมวัดพวงคำ ยังไม่หยุดเพียงแค่นี้ ยังมีกิจกรรมเพิ่มเติมอีกมากมาย อาทิเช่น "กาดกองเตว" ซึ่งได้ริเริ่มมา ๓ สัปดาห์แล้ว โดยเปิดโอกาสให้ชาวบ้านนำสินค้าอุปโภคบริโภคมาจำหน่ายในราคาเป็นกันเอง พืชผักปลอดภัย เพิ่มรายได้ทางเศรษฐกิจ และคาดหวังว่าจะทำสถานที่ให้ชมบรรยากาศของท้องทุ่ง ปวงคำ บริเวณหลังวัดพวงคำ สามารถเดินไปบนสะพานไม้ ไปชิมกาแฟรสหอมกลุ่ม ชมธรรมชาติของท้องทุ่งนา ถ่ายภาพสวยๆทั้งตอนเช้าและตอนเย็นเอาไปฝากคนที่บ้าน
ฝากความหวังไว้ที่คณะกรรมการประเมินระดับจังหวัดลำพูน หากว่าสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับจังหวัดได้แล้ว ก็จะผ่านเข้าไปคัดเลือกประเมินในระดับประเทศต่อไป
ภาพกิจกรรม
นายอำเภอประเชิญ สมองดี นายอำเภอลี้ พร้อมคณะ มารอต้อนรับคณะกรรมการประเมินจากจังหวัดลำพูน
นายโยธิน ประสงค์ความดี รองผวจ.ลำพูน พร้อมคณะกรรมการประเมิน เข้ากราบอนุสาวรีย์เจ้าแม่จามรี
กลุ่มแม่บ้าน ฟ้อนต้อนรับคณะกรรมการเมินจากจังหวัดลำพูน
คณะกรรมการประเมินเข้าเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ผ้าทอจกโหล่งลี้
คณะกรรมการประเมินเดินทางไปเยี่ยมชม "ภูหมื่นลี้" ที่เป็นทั้งโฮมสเตย์และร้านอาหาร

       จากความพยายามทีจะสืบค้นเรื่องราวตำนานเมืองลี้จากคำบอกเล่าของบรรดาท่านทั้งหลายทั้งในรูปแบบเอกสาร ปั๊บสา ใบลานและคำบอกเล่าที่ผ่านมา ในส่วนที่ได้รับฟังจากท่านนายอำเภอลี้ (นายวิวัฒน์  จันทร์โอภาส) ท่านได้เล่าให้ฟังว่า ในช่วงสมัยที่ท่านพระอาจารย์อนันต์  พุทธธัมโม ได้เคยมาจำพรรษาที่วัดบ้านปาง ประมาณ 5 - 6 พรรษา ซึ่งเป็นวัดกำเนิดของครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านได้สร้างและบูรณะสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับครูบาเจ้าศรีวิชัย ต่อมาท่านพระอาจารย์อนันต์ พุทธธัมโม ท่านได้กลับไปอยู่ที่วัดพระธาตุแสงแก้วมงคล อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ท่านได้รวบรวมสิ่งของต่างๆที่เกี่ยวกับครูบาเจ้าศรีวิชัยไว้ รวมทั้งปั๊บสาตำนานเมืองลี้ด้วย เพื่อที่จะได้มอบให้กับศิษยานุศิษย์ของครูบาชาวเมืองลี้ แต่ยังไม่มีโฮกาสที่เหมาะสม เมื่อทราบความดังกล่าวแล้ว ด้วยความที่อยากทราบเรื่องราวที่แท้จริง จึงได้ไปปรึกษาหารือกับหลวงพ่อท่านพระครูอินทวุฒิคุณ เจ้าคณะอำเภอลี้ ว่าจะเดินทางไปที่วัดพระธาตุแสงแก้วมงคลที่จังหวัดพะเยา ด้วยความที่อยากทราบและได้เห็นปั๊บสาต้นตำนานเมืองลี้ที่สืบเสาะหามานานและด้วยความที่ยังไม่เคยไปที่วัดพระธาตุแสงแก้วมงคลนี้เลย  จึงได้พยายามสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ทำให้ทราบว่า ท่านพระอาจารย์อนันต์ พุทธธัมโม ท่านได้มรณะภาพแล้ว เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563 ศิษยานุศิษย์แห่ร่วมพิธีฝั่งสรีระสังขารพระครูบาเจ้าอานันท์ พุทธธัมโม เป็นไปอย่างเรียบง่ายตามพินัยกรรมภายในวันเดียว คือ ห้ามสวด ห้ามตั้งตู้บริจาค ห้ามทำเหรียญ ตายวันไหนให้ฝังหลุมวันนั้น

    ภายหลังจากที่พระครูบาเจ้าอานันท์ พุทธธัมโม ประธานสงฆ์วัดพระธาตุแสงแก้วมงคล อำเภอดอกคำใต้ ได้มรณภาพลงในช่วงเช้าวันนั้น ศิษยานุศิษย์ของท่าน ก็เร่งดำเนินการตามพินัยกรรม ที่พระอาจารย์ท่านได้เขียนไว้เมื่อปี 2551 โดยได้นำสรีระของท่านบรรจุลงหลุมทันที่ในช่วงประมาณบ่าย 14.30 น. รวมอายุ 70 ปี 45 พรรษา

    ด้วยเหตุดังกล่าว จึงได้ออกเดินทางไปวัดพระธาตุแสงแก้วมงคล ในวันที่ 30 มีนาคม 2566 โดยพาหนะส่วนตัวมีหลวงพ่อพระครูอินทวุฒิคุณ พ่ออาจารย์ถาวร จักร์แก้ว มัคนายกวัดพระธาตุห้าดวง นายบุญชิต  วงศ์เขื่อน โยมอุปปัฎฐากหลวงพ่อ รวมทั้งผมด้วย 4 คน ออกเดินทางตั้งแต่เวลา 06.00 น.พร้อมด้วยห่อเสบียงอาหารไปด้วยเท่าที่จำเป็น ด้วยเส้นทางจากลี้ ผ่านอำเภอเสริมงาม จ.ลำปาง มุ่งสู่จังหวัดพะเยา ใช้เวลาประมาณเกือบ 3 ชั่วโมงก็ถึงจังหวัดพะเยา ใช้เส้นทางเลี่ยงเมืองมุ่งสู่อ.ดอกคำใต้ และมุ่งหน้าไปที่วัดพระธาคุแสงแก้วเลย ซึ่งก่อนหน้านั้นได้พยายามติดต่อกับพี่น้องทางจังหวัดพะเยา อาทิเช่น คุณชัยวัฒน์ จันธิมา จากพะเยาทีวี ซึ่งรู้จักกันมานานในฐานะที่ทำสื่อด้วยกัน พ่ออาจารย์วิมล ปิงเมืองเหล็ก ทราบว่าท่านเป็นประธานสภาวัฒนธรรมอ.ดอกคำใต้ ท่านได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัดพระธาตุแสงแก้วมงคลและรายนามพระสงฆ์ที่จะติดต่อคือ พระอิ่นแก้ว 
      เมื่อเดินทางถึงวัดพระธาตุแสงแก้วมงคลแล้ว ก็ขับรถเข้าไปยังสถานที่แรกเป็นสิ่งก่อสร้างสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพาน ถ่ายภาพเก็บไว้ก่อน จากนั้นก็ขับรถเข้าไปอีก ไม่พบพระอิ่นแก้วองค์ที่ว่าเลย เลยเข้าไปถึงบนดอยอีกม่อนหนึ่ง พบศาลา 2 ชั้นมีชื่อเรียกว่า โรงเจศรีอริยเมตไตร พยายามเรียกขานอยู่นานพอสมควร จึงได้มีโอกาสเข้าพบพระอิ่นแก้ว เลยได้กราบนมัสการขอทราบรายละเอียดดังที่กล่าวมา จากนั้นท่านก็ได้พาไปบนเขาอีกลูกหนึ่งชื่อว่า เขาคิชกูฏ ซึ่งเป็นกูฎเก่าของพระอาจารย์อนันต์ พุทธธัมโมและเป็นสถานที่ฝังศพท่านด้วย กุฎิของท่่านนั้นสร้างด้วยไม้หลังเล็กๆติดกับเขาเกือบถึงยอดดอย เลยถัดจากนั้นขึ้นไปเล็กน้อย เป็นสถานที่ฝังศพของท่านพระอาจารย์อนันต์ พุทธธัมโมตามพินัยกรรม สรีระร่างของท่านั้นถูกฝังในโลงซึ่งทำด้วยปูนปิดมิดชิด เป็นลักษณะท่อนไม้ขนาดใหญ่เสมือนหนึ่งเป็นปริศนาธรรมให้ขบคิด ว่าคนเราเมื่อวิญญาณออกจากร่างก็จะเหมือนขอนไม้ที่ไม่มีจิตวิญญาณ "ที่สุดของชีวิตและโลก คือว่างและสงบ" ปลายหลุมศพของท่านได้ติดพินัยกรรมฉบับที่ท่านเขียนไว้ตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ.2551 หลวงพ่อพระครูอินทวุฒิคุณ ได้นำพวกเราได้กราบและวันทาหน้อย ขอให้ได้พบได้เห็นในสิ่งที่ปรารถนาด้วยเทอญ จากนั้นพระอิ่นแก้ว ได้นำพวกเราย้อนกลับมาที่ดอยแห่งแรก มีสิ่งก่อสร้างมากมายที่เรียกกันว่า สังเวชนียสถานรวมทั้งกูฎิ ธรรมศาลา พระอุโบสถ สถานที่จำลองในสมัยพุทธกาล พระเจดีย์ วิหาร 
      หลังจากถวายภัตตาหารเพลและพวกเราก็ทานมื้อกลางวันที่เตรียมไว้ล่วงหน้า เสร็จสิ้นแล้ว ก็มีโอกาสได้สนทนาธรรมกับบรรดาพระสงฆ์หลายรูปด้วยกัน ประมาณ 10 รูป ล้วนแล้วแต่เป็นพระสงฆ์ผู้อาวุโสด้วยวัยวุฒิทั้งนั้น ทราบมาว่าพระอาจารย์อนันต์ พุทธธัมไม ท่านได้อุปการะดูแล ให้เข้ามาบวชและช่วยกันดูแลวัดพระธาตุแสงแก้วมงคล จากการพูดคุยสอบถามตามวัตถุประสงค์แล้ว รวมทั้งท่่านได้อนุญาตให้เข้าไปค้นถึงพระอุโบสถ ไม่ปรากฎปั๊บสาที่เกี่ยวเนื่องกับตำนานเมืองลี้เลย ซึ่งต่อมาพระอิ่นแก้ว ท่านได้แจ้งว่า จะมีกระดาษสาส่วนหนึ่งซึ่งเก็บไว้ที่น้องของท่านอาจารย์อนันต์ ซึ่งน้องของท่านพระอาจารย์ซึ่งเป็นผู้หญิง ก็ได้กลับไปบ้านและนำกระดาษสาที่เอ่ยถึงมาให้ดู เท่าที่ได้ช่วยกันตรวจสอบดูแล้ว ก็จะไม่ใช่ปั๊บสาที่เราต้องการ เป็นกระดาษสาเปล่า อีกส่วนหนึ่งมีตัวอักษรเขียนไว้เป็นลักษณะตัวดินสอเชียนไว้เป็นภาษาไทยปัจจุบัน  สรุปว่า ไม่พบปั๊บสาดังที่ว่าเลย จึงสมควรที่จะลากลับ และฝากไว้ด้วยว่า หากทางวัดได้พบหรือมีเอกสารหรือสิ่งของอื่นใด ก็ขอเมตรช่วยแจ้งให้ทราบด้วย จากนั้นจึงได้ถวายสังฆทานและกราบลากลับถึงเมืองลี้โดยสวัสดิภาพ

ภาพการไปติดตามปั๊บสาตำนานเมืองลี้ที่วัดพระธาตุแสงแก้วมงคล

        คณะสงฆ์จังหวัดลำพูนร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก อบจ.ลำพูน ดำเนินการจัดอบรมสัมมนามัคนายก หรือ พ่ออาจารย์ทุกวัดในจังหวัดลำพูนทั้งผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่ใหม่รวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วไป เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้นำในการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยจัดอบรมเป็น 4 รุ่นๆละ 2 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 8 อำเภอในจังหวัดลำพูน
        ในส่วนการอบรมสัมมนารุ่นที่ 4 เป็นการอบรมมัคนายกในพื้นที่อำเภอลี้และอำเภอทุ่งหัวช้าง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ณ หอประชุมโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธาตุห้าดวง ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน นอกจากผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้ความเข้าใจจากวิทยากรเป็นอย่างดีแล้ว ยังได้รับเอกสารเสมือนหนึ่งเป็นคู่มือเพื่อนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติในการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาให้ถูกต้องเหมาะสม เสริมสร้างให้เกิดศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนต่อไป

      การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมรักษามรดกภูมิปัญญาจังหวัดลำพูน  ในัวนที่ 17 มีนาคม 2566 เวลา 13.30 น. มีนายชาตรี  กิตติธนดิตถ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานการประชุม มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมครบทุกคน
      ในวันนี้ มีการนำเสนอภูมิปัญญาของลำพูน เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนของระดับประเทศต่อไป ทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูนได้ดำเนินการจัดเก็บภูมิปัญญาที่สมควรจะเสนอขึ้นทะเบียน คือ การตักบาตรผัก ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งได้จัดทำต่อเนื่องมาร่วม 30 ปี  และที่ประชุมได้ขอเสนอเพื่อนำมาพิจารณาคือ ช่างแกะสลักไม้ และกลองหลวงลำพูน ที่ประชุมได้รับทราบและเห็นสมควรที่จะจัดเก็บภูมิปัญญาดังกล่าว เพื่อนำมาพิจารณาในคราวต่อไป 

การประชุมคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ครั้งที่ 1/2566
วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2566 เวลา 09.30 น.
ณ หอศิลป์สล่าเลาเลือง ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

..........................................................