สภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ บูรณาการร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ชุมชนคุณธรรมบ้านปวงคำ
        จัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ้าจกโหล่งลี้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ ชุมชนคุณธรรมวัดพวงคำ ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยมีพระครูวิจิตรปริยัติการ เจ้าอาวาสวัดพวงคำ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ
วัตถุประสงค์ของโครงการฯ
เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อเพิ่มศักยภาพคนในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการทอผ้าจกโหล่งลี้
เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนสามารถพัฒนา ต่อยอด ทุนทางวัฒนธรรมให้มีรายได้จากผ้าทอจกโหล่งลี้ ซึ่งเป็นสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมแก่นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนชุมชน
กิจกรรม ประกอบด้วย
๑ บรรยาย หัวข้อ เมืองลี้เมืองเก่าจริงหรือไม่ โดยประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้
๒ บรรยาย หัวข้อ การทอผ้าจกโหล่งลี้ลำพูน
๓ บรรยาย หัวข้อ ลวดลายจกโหล่งลี้สื่อสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)
๔ กิจกรรมการฝึกปฏิบัติการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากลวดลายผ้าจกโหล่งลี้ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
          ในการนี้ นายเสน่ห์ จินาจันทร์ ตำแหน่ง ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ได้เข้าร่วมและทำหน้าที่เป็นวิทยากรภายในโครงการดังกล่าว
 

       การประกอบพิธีถวายทานพระตำหนักหอคำเจ้าแม่จามรี ผู้สร้างเมืองลี้ ณ วัดพระธาตุดวงเดียว ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
       เมื่อวันที่ 7 - 8 มกราคม 2566 ได้มีการประกอบพิธีถวายทานพระตำหนักเจ้าแม่จามรี โดยความตั้งใจของคุณแม่ทอง  กลิ่นซ้อน พร้อมด้วยคณะศรัธสาธุชนที่ได้มีกุศลเจตนาที่จะสร้างพระตำหนักแด่เจ้าแม่จามรีหลังใหม่ เนื่องจากหลงเดิมนั้นชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา ซึ่งโดยปกติแล้ว จะมีประชาชนชาวอำเภอลี้และนักท่องเที่ยวได้แวะเวียนมากราบไหว้เจ้าแม่จามรีตลอดเวลา เพื่อขอพรคุ้มครองและอธิษฐานจิตเพื่อให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่หวังไว้
        พระตำหนักหอคำ สร้างขึ้นโดยใช้ไม้สักทองทั้งหลัง ยกพื้นสูง 1.20 เมตร มีขนาด 20 ตารางเมตรเพื่อรอบรับผู็คนที่สามารถขึ้นไปกราบไหว้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น หลังคาทรงล้านนา
        จึงได้กำหนดการประกอบพิธีถวายทานพระตำหนักหอคำเจ้าแม่จามรี โดยพระสงฆ์พิธี 39 รูปเจริญพระพุทธมนต์และประกอบพิธีบวงสรวง โดยมีพราหมประกอบพิธี นอกจากนี้ได้มีคณะช่างซอพื้นเมืองจิตอาสา โดยอ.ขวัญชัย  สุรินทร์ศรี น้องบัวตอง เมืองลี้และช่างซอจากทุ่งหัวช้างมาร่วมขับซอ และมีคณะช่างปี่ของเมืองลี้ มาร่วมขับซอพื้นเมืองตามความนิยมของคนล้านนา หลังเสร็จพิธีแล้ว ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ เลี้ยงอาหารกลางวันผู้มาร่วมงาน เป็นเสร็จพิธี

       คณะสงฆ์จังหวัดลำพูน คณะสงฆ์อำเภอลี้พร้อมด้วยศรัทธาประชาชน ศิษยานุศิษย์ ศรัทธาประชาชนทุกภาคส่วน พร้อมใจกันจัดงานพิธีพระราชทานเพลิงศพครูบาเจ้าพรรณ พรหมเสโณ หรือ พระครูพินิจสารธรรม อายุ 94 พรรษา 73 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ช่วงเวลา วันที่ 12 - 19 มกราคม 2566 ณ เมรุชั่วคราว วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
       บำเพ็ญกุศลถวายแด่คูบาเจ้าพรรณ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2566 มีการทำบุญทักษิณานุปทานและสวดพระอภิธรรมทุกคืน ศรัทธาประชาชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างในวันที่ 19 มกราคม 2566 มีการประกอบพิธีพระราชทานเพลิง มีนายสันติธร  ย้ิมละมัย ผวจ.ลำพูน เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วยส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน - ผู้ใหญ๋บ้าน พระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ๋ทั้งในจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียงได้มาร่วมงานอย่างต่อเนื่องจนเสร็จสิ้นด้วยความเรียบร้อย

        สภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ได้ดำเนินการประชุมสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ณ อาคารสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้
        นายเสน่ห์ จินาจันทร์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ได้กล่าวเปิดประชุมสภาวัฒนธรรม และได้แนะนำวัฒนธรรมจังหวัดลำพูนคนใหม่ที่ย้ายมาดำรงตำแหน่ง คือ นายธวัชชัย อุบลพิทักษ์ พร้อมด้วยทีมงานเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นที่รับผิดชอบอำเภอลี้ วัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ได้แนะนำตนเองและแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมโดยเฉพาะต้องอาศัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
        จากนั้นได้ดำเนินการประชุมตามวาระการประชุม รายงานผลการดำเนินการ เช่น โครงการภูมิปัญญาลือเลื่องเมืองลำพูน และในปีพ.ศ.2566 ควรจะมีกิจกรรมเชิดชูครูบาศรีวิชัยเพื่อประกอบผลงานที่ครูบาจะครบ 150 ปีชาตกาลในปีพ.ศ.2571 ซึ่งจะต้องเสนอชื่อเป็นบุคคลสำคัญของโลกในปีพ.ศ.2569 และจะมีโครงการเพื่อพัฒนาเครือข่ายวัฒนธรรม 

          ภาพกิจกรรม





















 

 

พิธีทำบุญถวายทานถนนและสะพานบุญครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา ได้กำหนดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2565 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำเดือน 8 เหนือ

      คณะกรรมการดำเนินงานได้ประชุมปรึกษหารือกัน ว่าหลังจากที่ได้เริ่มลงมือขนดินลูกรังสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างบ้านลี้ หมู่ 6 ข้ามทุ่งหลวงลี้ มาสู่บ้านพระธาตุห้าดวง หมู่ที่ 15 และลงมือขนดินสร้างเป็นแนวถนนขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 700 เมตร และได้ประกอบพิธีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 โดยเชิญนายวรยุทธ  เนาวรัตน์ ผวจ.ลำพูนมาเป็นประธานในพิธีลงจอบแรกและปักหมุดสร้างถนนและสร้างสะพานบุญ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

อ่านเพิ่มเติม...

 

 

การสร้างสะพานบุญครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาเป็นโครงการต่อเนื่อง หลังจากที่ได้สร้างถนนตามรอยบุญครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา ซึ่งมีนายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผวจ.ลำพูนได้เดินทางเป็นประธานพิธีลงจอบแรกและปักหมุดสร้างถนนเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 ไปแล้ว 
       คณะกรรมการดำเนินงานได้ประชุมพิจารณาเห็นว่า ได้มีผู็บริจาคเงินเพื่อซื้อดินลูกรังสร้างถนนเข้าในกองทุนเป็นจำนวนมากพอสมควร จึงได้ขอแยกเงินออกมาตั้งเป็นกองทุนสร้างสะพานบุญครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาอีกกองทุนหนึ่ง เพื่อให่เกิดความชัดเจนในการดำเนินการ  ได้ปรึกษาหารือกับหลวงพ่อเจ้าคณะอำเภอลี้ พระครูอินทวุฒิคุณและภายใต้การแนะนำของพระอธฺการอ่อนแก้ว  ชยะเสโณ เจ้าอวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จึงเห็นสมควรที่จะดำเนินการสร้างสะพานบุญตามแผนงานที่กำหนดไว้เลย

อ่านเพิ่มเติม...