สถานการณ์บ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลงไปเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมากมาย จนถึงกับทำให้ภาษาล้านนาสูญสลายไป หากทิ้งไว้เนิ่นนานไปก็ยิ่งจะทำให้ถูกลืมไปในที่สุด ทั้งๆที่ภาษาล้านนา ตัวอักษรล้านนา ตั๋วอักขระโบราณหรือตั๋วเมือง เป็นทั้งภาษาอ่านและภาษาเขียนของคนล้านนา ที่มีความสละสลวยในตัวเอง ผู้คนล้านนาในปัจจุบันที่สามารถอ่านหรือเขียนอักษรล้านนาได้ก็ล้มหายตายจากไปมิใช่น้อย หากมิได้มีการอนุรักษ์และสืบสานอย่างต่อเนื่องก็จะล่มสลายไปในที่สุด
ประเพณีไหว้สาป๋ารมีสามครูบา บูชาเจ้าแม่จามรี ตานขันเข้าแด่บรรพบุรุษ เป็นกิจกรรมที่ศรัทธาประชาชนชาวอำเภอลี้ โดยเฉพาะชาวตำบลลี้ ซึ่งมีพื้นเพดั้งเดิมอาศัยอยู่ใกล้กับสถานที่สำตัญทางประวัติศาสตร์ชุมชน อันได้แก่ วัดพระธาตุดวงเดียว ซึ่งเป็นวัดแรกที่เจ้าแม่จามรีได้สร้างขึ้นมาหลังจากที่ได้รอนแรมอพยพหลบลี้หนีภัยจากหลวงพระบาง โดยมีช้างพลายสุวรรณมงคล และเหล่าบรรดาข้าราชบริพารที่ติดตามมาซึ่งถูกระบุไว้ในตำนาน ซึ่งตำนานมีหลายตำนานที่ได้กล่าวถึงการสร้างบ้านแปงเมือง ของเจ้าแม่จามรี ผู็สร้างเมืองลี้ เท่าที่ได้ค้นพบจะเป็นอักษรธรรมล้านนา จารไว้ว่า ตำนานจามรีและตำนานเจดีย์ห้ายอด
เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2558 เทศบาลตำบลวังดิน ได้จัดกิจกรรมขบวนแห่น้ำศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่จังหวัดลำพูน มาสรงน้ำและเปลี่ยนผ้าครองสรีระองค์สามครูบา มีศรัทธาประชาชนมาร่วมทำบุญกันมากมาย
พระพรหมเสนาบดี เจ้าคณะภาค 7 เจ้าคณะภาค 7 ได้ดำเนินทางมาถึงบริเวณมณฑลพิธี เป็นประธานในพิธี ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานฝ่ายฆราวาส นอกจากนี้มีดร.นิรันทร์ ด่านไพบูลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน นายอำเภออุดม จันตาใหม่ นายอำเภอลี้ นายสุรสิทธ์ ทองรวย นายกเทศมนตรีตำบลวังดิน พร้อมด้วยศรัทธาประชาชนในพื้นที่ต่างๆมาร่วมงานมากมาย เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมแล้ว ได้เดินทางไปประกอบพิธีสืบชะตาหลวงและสรงน้ำพระธาตุห้าดวง ตามลำดับ
ประเพณีการฟ้อนผีมดของเมืองลี้ที่ยังหลงเหลืออยู่ ประเพณีฟ้อนผีมดทางภาคเหนือ ผู้ที่อยู่ในเชื้อสายเดียวกันจะไปร่วมชุมนุมที่บ้านของผู้ที่รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดงาน ชาวบ้านจะนำสิ่งของมา "ฮอม" หรือมาร่วมกันทำบุญเจ้าภาพจึงไม่ต้องจ่ายมาก เป็นโอกาสที่ญาติพี่น้องที่แยกย้ายไปทำงานที่อื่นได้กลับมาพบปะกันปีละครั้ง เพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษ และเกิดความภูมิใจในชาติพันธุ์วงศ์ตระกูลเดียวกัน