ความเป็นมาในการสร้างถนนและสะพานบุญโตยฮอยบุญครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา
เชื่อม 2 หมู่บ้าน ระหว่างบ้านลี้และบ้านพระธาตุห้าดวง
..............................................
คณะสงฆ์อำเภอลี้ ประกอบด้วยหลวงพ่อเจ้าคณะอำเภอลี้ เจ้าคณะตำบลและพระเถรานุเถระ พระสังฆาธิการทุกตำบลในอำเภอลี้ พร้อมด้วยส่วนราชการ มีนายวิวัฒน์ จันทร์โอภาส นายอำเภอลี้ และกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน นายกเทศบาลตำบลวังดิน และสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ได้มีความเห็นร่วมกันในการสร้างถนนข้ามทุ่งหลวงลี้ เพื่อเชื่อมต่อระหว่างบ้านพระธาตุห้าดวงและบ้านลี้ ตามแนวดำริของครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา เมื่อคราวที่ครูบาได้มานั่งหนักบูรณะวัดพระธาตุห้าดวงเมื่อตอนที่ท่านครูบายังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ใช้ไม้เท้าชี้ไปทางทุ่งหลวงลี้และบอกว่า จะตัดถนนข้ามโต้งจากบ้านพระธาตุห้าดวงไปสู่บ้านลี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สัญจรไปมาได้สะดวก ไม่ต้องเดินทางอ้อม จะย่นระยะทางในการเดินทาง และสามารถขนข้าวและผลผลิตทางการเกษตรได้สะดวกยิ่งขึ้น
ประกาศสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ จังหหวัดลำพูน
............................................
ตามที่สมาชิกสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ได้ดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติพ.ศ.2553 มาตรา 17 และกฎกระทรวง กำหนดที่มา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มา จำนวนกรรมการและสมาชิก วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การประชุม การบริหารจัดการและการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรม พ.ศซ.2555 นั้น
สำนักงานวัฒนธรรมจังหหวัดลำพูน จึงประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอลี้ ดังนี้
อำเภอลี้เป็นเมืองโบราณเก่าแก่ที่มีมาแต่ดั้งเดิม ปรากฏร่องรอยหลักฐานซากอิฐดินเผาและสิ่งของเครื่องใช้สำหรับคนยุคโบราณ ปรากฏกระจายตามพื้นที่ต่างๆแต่ละตำบล จะพบเห็นได้จากสถานที่ที่ถูกระบุว่าเป็นเมืองเก่าแก่ดั้งเดิม ปรากฏในตำนานและเรื่องเล่าสืบต่อจากผู้คนแต่ละรุ่น ดังปรากฏที่วัดพระธาตุดวงเดียว ที่เป็นร่องรอยหลักฐานว่าเป็นเมืองเก่าที่ระบุว่าสร้างขึ้นในสมัยเจ้าแม่จามรี ปัจจุบันยังปรากฏคันน้ำคูดิน เศษซากหม้อดินเผา กระเบื้องเคลือบสมัยราชวงศ์หมิงและพบโบราณวัตถุมากมายที่รอการพิสูจน์จากกรมศิลปากร วัดพระธาตุห้าดวง ที่มีความเป็นมาน่าสนใจ วัดแท่นคำ โบราณสถานทุ่งกาด โบราณสถานโปงก้างที่มีเตาเผาปรากฏให้เห็น ล้วนแล้วปรากฏที่ตั้งในบริเวณเดียวกัน นอกจากนี้ในพื้นที่ตำบลต่างๆก็มีผู้พบเห็นซากอิฐ ดินเผา กล้องมูยาดิน สิ่งของเครื่องใช้ของคนในยุคโบราณปรากฎตามสถานที่ดังกล่าว บางส่วนอยู่ในพื้นที่วัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา บางส่วนอยู่ในป่า หรืออยู่ในสวนที่ทำกินของชาวบ้าน นับว่าเป็นโบราณสถานที่สมควรได้รับการสำรวจอย่างจริงจัง
สถานการณ์บ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลงไปเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมากมาย จนถึงกับทำให้ภาษาล้านนาสูญสลายไป หากทิ้งไว้เนิ่นนานไปก็ยิ่งจะทำให้ถูกลืมไปในที่สุด ทั้งๆที่ภาษาล้านนา ตัวอักษรล้านนา ตั๋วอักขระโบราณหรือตั๋วเมือง เป็นทั้งภาษาอ่านและภาษาเขียนของคนล้านนา ที่มีความสละสลวยในตัวเอง ผู้คนล้านนาในปัจจุบันที่สามารถอ่านหรือเขียนอักษรล้านนาได้ก็ล้มหายตายจากไปมิใช่น้อย หากมิได้มีการอนุรักษ์และสืบสานอย่างต่อเนื่องก็จะล่มสลายไปในที่สุด